วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การจัดการกับความซับซ้อนของโลก

การเมืองกับเศรษฐกิจโลก
             ปัจจุบันการก่อตัวของมหานคร (mega-cities) ต่าง ๆ ในภูมิภาคได้เกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกับวิวัฒนาการของกระแสเศรษฐกิจของโลกโดย จะเห็นได้จากการที่ตลาดสินค้าและบริการระหว่างประเทศได้มีการพัฒนาขึ้นอย่าง เป็นลำดับ เนื่องจากได้รับการส่งเสริมจากการจัดตั้งของเขตการค้าเสรี (free trade zone) ขนาดใหญ่ต่าง ๆ เช่น Asean หรือ APEC รวมทั้งการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมหลักของประเทศต่าง ๆ เช่น  เขตอุตสาหกรรมของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคที่ผลผลิตจะประกอบขึ้นจาก ชิ้นส่วนการผลิตที่มาจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ทั่วโลก และเป็นการเริ่มต้นยุคของบริษัทระหว่างประเทศ (transnational corporation) เศรษฐกิจโลกเป็นผลของกระแสโลกาภิวัตน์ที่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อ เนื่องมาโดยตลอดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การโยกย้าย การหลั่งไหล และเกิดความซับซ้อนต่าง ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นผ่านเครือข่ายระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยว ข้องกับการติดต่อสื่อสาร การค้า วัฒนธรรมและสังคม และกิจกรรมทางการเมือง กระแสโลกาภิวัตน์ได้ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและได้รับการกระตุ้น จากการปฏิวัติในเรื่องการขนส่งและการติดต่อสื่อสาร ซึ่งทำให้เวลาและระยะทางการติดต่อหดสั้นลง และที่สำคัญทำให้ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารและการขนส่งลดน้อยลงอย่างมาก ในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น กระแสโลกาภิวัตน์ยังเกี่ยวข้องกับการบูรณาการให้เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งปรากฏให้เห็นถึง การเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า มาตรฐานโลก (common global standards) เช่น ในอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ หรือการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา และการผลิตสินค้าและบริการแต่ละชนิด เป็นกระบวนการผลิตที่มาจากแหล่งผลิตในหลายประเทศแล้วมาประกอบรวมกันภายหลัง ปัจจุบันจึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่าสินค้ามีแหล่งผลิต  ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ผลก็คือ ทำให้การตัดสินใจเลือกสถานที่สำหรับการเป็นฐานการผลิตทางอุตสาหกรรมของ บริษัทระหว่างประเทศต่าง ๆ นอกจากจะอาศัยการเปรียบเทียบปัจจัยด้านค่าแรง (labor cost) แล้วยังมีการพิจารณาถึงความได้เปรียบของปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งประเทศที่อยู่ในข่ายว่าจะได้รับการเลือกให้เป็นที่ตั้งฐานการผลิตดัง กล่าว  มีอยู่ เช่น การมีมาตรการและสิ่งจูงใจเพื่อส่งเสริมการลงทุน รวมถึงระบบกฎหมายข้อบังคับและระเบียบที่ดีใช้บังคับอยู่ของประเทศนั้นด้วย ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่การใช้วัตถุดิบสำหรับการเป็นปัจจัยการผลิต ในระบบอุตสาหกรรมของประเทศที่มี ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้ลดความสำคัญลง และมีผลกระทบทำให้บทบาทความสำคัญของพื้นที่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ ก็ลดลงตามไปด้วย ขณะที่ทุน (capital) กลับมีความสำคัญที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบทบาทของเงินทุนในระบบเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ ซึ่งได้กลายเป็นแรงขับดันของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันและ เงินตรา (currency) ยังได้กลายเป็นแรงขับดันสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างในชุมชนเมือง การให้บริการทางการเงินและธุรกิจต่าง ๆ หรือการดำเนินธุรกรรมของทุนผ่านทางศูนย์ธุรกิจการค้าต่าง ๆ และอาคารทันสมัย รวมทั้งการเข้าถึงตลาดทุนและแหล่งข้อมูลข่าวสารและการลงทุนกลายเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นอยู่ภายในเมืองระดับโลกต่าง ๆ และการเคลื่อนย้ายทุน (capital mobility) ได้ทำให้เมือง มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการเป็นจุดเชื่อมต่อของเครือข่ายบริษัทระหว่างประเทศ และของเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกัน (Savitch, 2003, pp. 22-29; Yeung & Lo, 1998, pp. 132-134)               
             การก่อตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นหลัก (information-based industries) เช่น ธุรกิจการให้บริการทางการเงิน การบัญชี การโฆษณา และสำนักงานกฎหมาย รวมไปถึงบริการด้านการวิจัยและการพัฒนา การสื่อสารมวลชน ซึ่งสำนักงานใหญ่ ของอุตสาหกรรมและการค้าการบริการเหล่านี้ต่างก็ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการส่งและกระจายข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี จึงได้กลายเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างในหลายสิ่งหลายอย่าง  ได้แก่ นวัตกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ โทรคมนาคม วัตถุสังเคราะห์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ส่งเสริมระบบการผลิต และทำให้ธุรกรรมทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีการปฏิวัติรูปแบบการทำธุรกิจไปจากแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง  รวมทั้งเป็นการเปิดกว้างต่อการสร้างสรรค์ต่าง ๆ อีกด้วย  ดังนั้น พื้นที่ภายในเมืองต่าง ๆ จึงกลายเป็นที่ตั้งโดยธรรมชาติของอุตสาหกรรมที่ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นหลัก เนื่องจากเมืองเป็นแหล่งรวมของระบบเศรษฐกิจและเมืองยังมีลักษณะแวดล้อมที่มี ความเป็นนวัตกรรมที่สูง จึงเป็นประโยชน์ต่อการเข้ามาตั้งอุตสาหกรรมดังกล่าว (Clarke, 1996) เมืองได้กลายเป็นแหล่งที่รวบรวมและฟูมฟักให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในระดับท้องถิ่นและไปสู่ระดับโลก เมืองได้เพิ่มพูนประโยชน์จากความรู้ความสามารถของมนุษย์และพลังจากเครื่อง จักรกลต่าง ๆ เพราะเมืองก่อให้เกิดการขนส่งที่มีราคาถูกและรวดเร็ว และเมืองทำให้มีตลาดแรงงานที่มีผลผลิตสูงและมีความยืดหยุ่น นอกจากนี้เมืองยังจะช่วยในการกระจายของผลผลิต แนวคิด (ideas) และทรัพยากรมนุษย์ระหว่างเขตชุมชนเมือง เขตชานเมือง และเขตชนบทลักษณะที่พื้นที่ของเมืองได้รวบรวมเอาสิ่งต่าง ๆ ไว้ในพื้นที่ ทำให้เมืองได้กลายเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือและแสดงให้เห็นถึงทิศทางที่จะ เกิดขึ้นต่าง ๆ รวมทั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เศรษฐกิจโลกใช้เป็นที่วางแผนและจัดตั้งหน่วย ธุรกิจขึ้นมา เพราะเมืองสามารถแปรเปลี่ยนที่ว่าง (space) ให้เป็นที่สำหรับองค์การต่าง ๆ ที่จะทำหน้าที่ของตนอันหลากหลาย และเมืองมีโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนแรงงานด้านบริการจำนวนหลายล้านคน รวมทั้งเมืองยังจัดให้มีช่องทางสำหรับการขนส่งสินค้า เงินทุน และข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว (Savitch, 2003, pp. 22-29)
             ปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เมืองและมหานครต่าง ๆ จะต้องส่งเสริมและโฆษณาเมืองของตนเองเพื่อแสดงให้เห็นถึงความได้เปรียบใน ด้านต่าง ๆ เมื่อมีการเปรียบเทียบกันในเรื่องของการขนส่ง การติดต่อสื่อสาร และการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการผลิตในทาง อุตสาหกรรม รวมไปถึงความได้เปรียบในเรื่องของความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย การมีที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ มีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ค่าครองชีพไม่สูงเกินไป และมีสิ่งดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยว
             ผลที่กำลังเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากลักษณะของเศรษฐกิจโลก ก็คือ เมืองต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะเมืองในระดับมหานคร ต่างก็กำลังแข่งขันกันเองอย่างแข็งขันเพื่อเชิญชวนการเข้ามาลงทุนจากนักลง ทุนภายนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมาจากประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว หรือนักลงทุนจากภูมิภาคของเอเชีย เช่น จากฮ่องกง สิงคโปร์ และไทเป ที่เห็นได้ชัด ก็คือ พื้นที่การค้า “ปูตง” ของเมืองเซี่ยงไฮ้ก็กำลังแข่งขันกับโครงการ ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก (eastern seaboard project) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ครอบคลุมพื้นที่ของกรุงเทพมหานครไว้ด้วย (Yeung & Lo, 1998, pp. 132-134)
             เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการแข่งขันกันเพื่อสร้างสิ่งจูงใจสำหรับการเข้ามาลงทุน จากภายนอกของมหานครและเมืองต่าง ๆ ก็จะต้องมีผู้ชนะและผู้แพ้เช่นเดียวกับการแข่งขันอื่น ๆ ซึ่งการเป็นผู้ชนะย่อม หมายถึง การเป็นเมืองที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นผลสำเร็จในเรื่องโครงสร้างพื้น ฐานการให้บริการ การพักผ่อนหย่อนใจ ที่พักอาศัย และส่วนอื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดใจให้กับนักลงทุนรายใหม่ ๆ ได้เข้ามาลงทุน และการเป็นเมืองผู้แพ้นั้นก็จะ หมายถึง การที่เมืองมีการชะงักงันทางเศรษฐกิจเพราะปราศจากการลงทุนจากภายนอกและอาจ ส่งผลต่อปัญหาอื่น ๆ ของเมืองด้วย 

การพึ่งพาอาศัยกัน

ท่านได้ตรัสว่า ในศตวรรษที่ 20 มีผู้คนต้องประสบกับความทุกข์ยากมากขึ้นเนื่องมาจากความรุนแรงยิ่งกว่าที่ เคยเป็นมาก่อน แต่ท่านยืนยันว่า ความรุนแรงเป็นสิ่งที่ทวนกระแสธรรมชาติของมนุษย์. คุณจะเชื่อได้อย่างไร ในเมื่อพยานหลักฐานต่างๆดูเหมือนว่าจะเป็นไปในลักษณะที่ตรงกันข้าม ?
ในระดับเบื้องต้นหรือพื้นฐานของชีวิตธรรมชาติของมนุษย์ ต้องขึ้นอยู่กับความรัก. ความก้าวร้าวเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ แต่ไม่ใช่ส่วนที่มีอิทธิพลแต่อย่างใด. สิทธิที่มีมาตั้งแต่เกิดของชีวิตทารกทั้งหลาย คือความรู้สึกทราบซึ้งในความรักของคนอื่น และขานรับต่อความรู้สึกอ่อนโยนอันนั้น แม้ว่าความเฉลียวฉลาดจะไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา, ทารกน้อยๆก็สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้โดยไม่ต้องมีสติปัญญา แต่หากว่าปราศจากความรักทารกจะไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้.
ตามความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อมารดาตั้งครรภ์ขึ้น ทารกจะเจริญเติบโตในครรภ์ของมารดา, ความรู้สึกสงบ สันติในใจของผู้เป็นแม่ ความรัก และความเมตตาของเธอเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทารกที่อยู่ในครรภ์. ความโกรธและความเกลียด จะสร้างความปั่นป่วนในจิตใจของผู้เป็นแม่ และมันเป็นเรื่องที่เลวร้ายสำหรับทารกที่อยู่ในครรภ์ด้วย.
ในทำนองเดียวกัน ช่วงระหว่างไม่กี่สัปดาห์แรกหลังการถือกำเนิดขึ้นมาของทารก การสัมผัสทางกายด้วยความรักกับทารกเป็นเงื่อนไขที่สำคัญมากสำหรับพัฒนาการ อันเหมาะสมต่อสมองของทารก. ในเรื่องเกี่ยวกับส่วนสูงของร่างกาย ก็ต้องการความรักของมนุษย์. อารมณ์ความรู้สึกต่างๆทางด้านบวกของมนุษย์ อย่างเช่น ความรัก, ความเมตากรุณา ไปด้วยกันอย่างดีกับพัฒนาการทางกายภาพของเรา. แต่จิตใจที่ปั่นป่วนร้อนรนจะไม่ไปด้วยกันกับการดำรงอยู่ที่ดี. ทารกเกือบจะเหมือนกันกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ – ไม่มีสติปัญญา, ไม่มีอุดมคติ, ไม่มีศรัทธาในศาสนา, ไม่มีสิ่งใดเลยเว้นแต่ความรู้สึกซาบซึ้งในความเอาใจใส่ของผู้เป็นมารดา และสามารถที่จะขานรับต่อสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไม่ต้องสงสัยและเป็นไปได้ด้วย ดี.
ทุกคนทราบว่า ทารกหรือเด็กๆซึ่งได้รับความรักจากพ่อแม่จะมีจิตใจและสติปัญญาที่แข็งแรง สมบูรณ์. อันนี้ย่อมส่งผลให้การศึกษาของพวกเขาดีขึ้นมาก. เมื่อเด็กคนนั้นโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็จะมีความรู้สึกไวและอ่อนไหวต่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ยากของคนอื่น และพบว่ามันง่ายมากที่จะพัฒนาไปสู่ความรู้สึกอันหนึ่งของการเป็นห่วงเป็นใย คนอื่น.
สิ่งดีๆที่เป็นเรื่องทางบวกมาจากความรักความเมตตา จากความรู้สึกอันหนึ่งของการเอาใจใส่และความรัก. คุณจะเป็นคนที่มีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีจิตใจที่เป็นสุข. อันนี้เนื่องมาจากครอบครัวที่มีความสุขและชุมชนที่มีความสุข. เด็กที่ขาดเสียซึ่งความรัก จะเป็นเด็กที่ขี้อายและจิตใจไม่เป็นสุข. พัฒนาการทางร่างกายของพวกเขาก็จะได้รับผลกระทบด้วย. เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาจะพบว่ามันยากมากที่จะแสดงออกซึ่งความรักให้กับคนอื่นๆ. ในท้ายที่สุด อันนี้สามารถจะมีอิทธิพลส่งไปถึงสังคมโดยรวมได้. พื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์มีความเชื่อมโยงกันบางอย่างกับความเป็นสัตว์สังคม ซึ่งต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม, คล้ายๆกับผึ้ง. การดำรงชีวิตอยู่ประเภทนี้เรียกร้องต้องการความรู้สึกอันหนึ่งของชุมชน ความรู้สึกรับผิดชอบ ความรู้สึกที่จะทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน. อันนี้เป็นธรรมชาติ.
ความก้าวร้าวก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ด้วย แต่มันไม่ใช่ส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญแต่อย่างใด. อหิงสา หรือการไม่ใช้ความรุนแรงได้รับการกล่าวว่าเป็นความรู้สึกของความเมตตา และความรู้สึกของการเป็นห่วงเป็นใย. ความเมตตาไม่ใช่ความรู้สึกอันหนึ่งของความสงสาร. ความเมตตาเป็นความรู้สึกที่แท้จริงอันหนึ่งของความรับผิดชอบและเคารพต่อสรรพ ชีวิต. ด้วยเหตุนี้ อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความรักและความเมตตาเอาใจใส่จึงเป็นรากฐานเกี่ยว กับการอยู่รอดของมนุษย์. ด้วยเหตุดังนั้น อหิงสาหรือการไม่ใช้ความรุนแรงจึงไปด้วยกันอย่างดีกับธรรมชาติพื้นฐานของ มนุษย์.
ในความสัมพันธ์ทางสังคมของเรา เรื่องของความรุนแรงมีผลทางด้านลบ. ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าเราพัฒนาความไม่ลงรอยกันขึ้นมา ถ้าข้าพเจ้าใช้กำปั้นต่อยคุณหรือคุณใช้กำปั้นทุบข้าพเจ้า การกระทำเช่นนี้จะมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะและอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้แพ้. แต่คุณมีเพื่อนของคุณและญาติๆของคุณ. คนเหล่านี้พร้อมที่จะแก้แค้นให้. มาถึงตรงนี้ เนื่องจากการกระทำของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องเตรียมตัวที่จะเผชิญหน้ากับคนอีกสิบคน. ด้วยเหตุดังนั้น ในระดับของการปฏิบัติ ถ้าหากว่าคุณใช้ความรุนแรง ในช่วงเวลาสั้นๆคุณอาจได้รับชัยชนะคนอื่นๆ แต่ในระยะยาวมันจะมีผลในทางลบตามมา.
มองไปที่ประวัติศาสตร์ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งดูซิ หลังจากที่ทหารเยอรมันต้องพ่ายแพ้สงคราม พวกเขาก็ได้พักรบ. แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวของสงครามโลกครั้งที่สองได้รับการบ่มเพาะขึ้นมา. ภายในดวงจิตของประชาชนชาวเยอรมันมัน เป็นความรู้สึกที่ว่า “เราเป็นผู้พ่ายแพ้ และเราจะต้องไม่ลืมความพ่ายแพ้อันนี้.
โลกในทุกวันนี้เป็นโลกที่มีความเชื่อมโยงกันและกันและเป็นโลกที่ต้องพึ่ง พาอาศัยกัน. ไม่เพียงแต่ประเทศหนึ่งต้องพึ่งพาอาศัยประเทศอื่นๆเท่านั้น แต่ทวีปต่างๆก็ต้องพึ่งพาอาศัยทวีปอื่นๆด้วย. ปัญหาใหม่ๆ อย่างเช่นปัญหาทางนิเวศวิทยาเป็นปัญหาทั้งโลก. ทั้งนี้เพราะเราต่างพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างมาก แนวความคิดเกี่ยวกับฉัน, เรา, ของเรา, และของคุณ, พวกเขา, ของพวกเขา, ไม่มีหรือไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไปแล้ว. การทำลายเพื่อนบ้านของคุณก็คือการทำลายตัวคุณเองด้วย. ปัจจุบันนี้โลกทั้งโลกมันเป็นเหมือนกับเรือนร่างเดียวกัน.
ความคิดเกี่ยวกับสงคราม มันเกิดขึ้นมาจากแนวความคิดที่ว่า มันยังคงมีเส้นที่ชัดเจนเส้นหนึ่งที่แบ่งแยกระหว่าง”พวกเขา”และ”พวกเรา”. ฝ่ายหนึ่งชนะ, ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้. แต่โลกซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันนั้น เรื่องเช่นนี้มันเป็นไปไม่ได้. ทุกวันนี้ ผลประโยชน์ของพวกเขาก็คือผลประโยชน์ของพวกคุณ. ด้วยเหตุนี้ คุณจึงไม่สามารถที่จะมองข้ามหรือไม่เอาใจใส่ผลประโยชน์ของคนอื่นๆได้. คุณจะต้องรักษาผลประโยชน์ของคนอื่นเอาไว้ในใจ ขณะที่คุณพยายามที่จะแก้ปัญหาของคุณเอง. ในข้อเท็จจริง โดยปราศจากความร่วมมือของคนอื่น คุณจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้. ภายใต้สถานการณ์เหล่านั้น จะไม่มีที่ว่างสำหรับความรุนแรง. ในระดับปรัชญาและในระดับปฏิบัติการ ทั้งสองระดับนี้ การไม่ใช้ความรุนแรงหรืออหิงสาเป็นเพียงทางเลือกเดียวเท่านั้น. ความรุนแรงไม่มีคุณค่ายืนยงยาวนานอีกต่อไปแล้ว.
ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ การสนทนากับฝ่ายตรงข้ามหรือปรปักษ์เป็นวิธีการที่เป็นจริงมากที่สุด และเป็นหนทางซึ่งนำไปสู่ความก้าวหน้า.
ถ้าหากว่าการสนทนาหรือการพูดคุยกันเป็นทางเลือกของท่านต่อการมีสงคราม, ท่านก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามันประสบความสำเร็จมากนัก. อะไรคือสิ่งที่ธิเบตได้มาในความพยายามต่างๆของท่านในการเจรจากับจีน ?
ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยที่ว่า หลักอหิงสา หรือการไม่ใช้ความรุนแรงของข้าพเจ้าไม่ประสบความสำเร็จที่เป็นจริงแต่อย่าง ใด. ใช่ ด้านหนึ่ง ความพยายามที่จะบรรลุถึงการแก้ปัญหาที่แท้จริงต่อการรุกรานของชาวจีนในธิเบต โดยผ่านการพูดคุยกับรัฐบาลจีน จนกระทั่งปัจจุบันนี้มันยังล้มเหลวอยู่. แต่ ในอีกด้านหนึ่งนั้น เนื่องจากวิธีการอหิงสาของข้าพเจ้า วิญญานแห่งการประนีประนอมของข้าพเจ้า และไม่ลืมเรื่องผลประโยชน์ของจีน ได้มีการสนับสนุนอย่างมากมายจากชุมชนชาวจีน จากบรรดานักวิชาการปัญญาชนของจีน และนักคิดต่างๆเป็นจำนวนมาก. ชาวจีนเกือบทุกคนผู้ซึ่งรู้ถึงวิธีการของข้าพเจ้า และรู้ถึงสถานการณ์ที่แท้จริงของธิเบต ต่างก็มีความเห็นสอดคล้องและสนับสนุนจุดยืนของข้าพเจ้า
ถ้าหากว่าธิเบตดำเนินรอยตามความรุนแรงมากกว่านี้ ชาวจีนในธิเบตก็จะบาดเจ็บล้มตายเป็นพวกแรก; ชาวจีนเหล่านี้จะตกเป็นเหยื่อหรือเป้าหมายกลุ่มแรกเลยทีเดียว. หากเป็นเช่นนั้น ญาติๆของเขา เพื่อนของเขา สมาชิกในครอบครัวของเขาก็จะเจ็บปวดทุกข์ทรมาน. ชาวธิเบตจะเล็งเป้าไปที่คนจีนทุกคน. ภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น, มันจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากสำหรับชาวจีนทุกๆคนที่จะให้การสนับสนุน ข้าพเจ้า – แม้ว่าชาวจีนบางคนอาจทราบว่า ชาวธิเบต ที่จริงแล้ว ต้องทุกข์ทรมานมากเพียงใด. ดังนั้น ชาวจีนหรือพลเมืองจีนทุกคนก็จะต่อต้านข้าพเจ้า; อันนี้จะเป็นสถานการณ์ซึ่งยุ่งยากมากสำหรับพวกเรา.
ด้วยเหตุนี้ โลกกว้างจึงหันมาให้การสนับสนุนประเด็นปัญหาของชาวธิเบต เพราะพวกเราดำเนินรอยตามหลักการแห่งอหิงสาอย่างจริงใจ. ดังนั้น วิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรงจึงได้รับการสนับสนุนเป็นจำนวนมากและบรรลุถึง ผลลัพธ์ในทางบวก. พัฒนาการอันนี้ในระยะยาวแล้ว จะส่งผลสะเทือนในทางบวกอย่างมาก.
ปัจจัยที่สำคัญมากอีกอันหนึ่ง: ไม่ว่าเราจะชื่นชอบหรือไม่ก็ตาม เราจะต้องดำรงอยู่เคียงข้างกันกับชาวจีน ดังนั้น เพื่อที่จะดำรงอยู่อย่างมีความสุข สันติและสงบ และในจิตวิญญานของเพื่อนบ้านที่ดี ข้าพเจ้าเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นว่า ขณะที่เรากำลังดำเนินไปบนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพอยู่นี้ เราจะต้องดำเนินรอยตามหนทางแห่งอหิงสธรรม.
ท่านไม่คิดหรือว่า ความศรัทธาของท่านต่อการสนับสนุนในทางการเมืองจากชุมชนนานาชาติมันยังไม่ เกิดขึ้น เนื่องจากผลประโยชน์ทางธุรกิจและเงินตรามักจะมาก่อนเรื่องของศีลธรรมเสมอ
ถ้าเช่นนั้นขอถามคุณว่า ถ้าหากว่าพวกเราใช้วิธีการที่รุนแรงต่างๆ คุณแน่ใจไหมว่ารัฐบาลต่างๆเป็นจำนวนมากจะมาช่วยเรา ? ไม่เลย ข้าพเจ้าไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น สถานการณ์จะเลวร้ายลงไปอีก. อันนี้ไม่ใช่เป็นคำถามเกี่ยวกับความรุนแรงหรือการไม่ใช้ความรุนแรง. ธิเบตเป็นประเทศที่เล็กมาก ไม่มีน้ำมัน ไม่มีเงิน ไม่เหมือนกับประเทศคูเวต, ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆแต่มีน้ำมันเป็นจำนวนมาก. ด้วยเหตุนี้ กรณีของธิเบตจึงอ่อนแอมากต่อสายตาของโลกภายนอก. ธิเบตไม่มีความดึงดูดใจทางด้านเศรษฐกิจ. ธิเบตมีความร่ำรวยในเรื่องทรัพยากรทางธรรมชาติ แต่อันนี้ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นจำนวนมากและต้องใช้การลงทุนสูงมาก. ดังนั้น มันจึงไม่มีผลประโยชน์ในธิเบตสำหรับโลกส่วนใหญ่.
ในทางตรงข้าม ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ มันเป็นตลาดใหญ่ ทั้งทางด้านการเมืองและการทหาร จีนเป็นประเทศที่สำคัญมากประเทศหนึ่ง. การชี้ขาดหรือตัดสินจากเงื่อนไขปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ข้าพเจ้าคิดว่าการสนับสนุนที่เราได้รับในทุกวันนี้ ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องซึ่งน่าทึ่งมากเลยทีเดียว.
ในปี 1959, 60 และ 65 ประเด็นปัญหาของธิเบตได้รับการนำเข้าไปสู่องค์การสหประชาชาติ. ในช่วงเวลานั้น ประเทศต่างๆมากมายให้การสนับสนุนต่อธิเบต แต่การสนับสนุนอันนั้นมิได้เป็นไปอย่างแท้จริง. ประเทศต่างๆทางตะวันตกกลุ่มหนึ่งมีนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านคอมมิวนิสม. พวกเขาได้จัดการยักย้ายประเด็นปัญหาของชาวธิเบต ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการณ์ในการต่อต้านคอมมิวนิสม. ในทศวรรษที่ 70, 80, และ 90 การสนับสนุนที่เราได้รับ ส่วนใหญ่มาจากสาธารณชนและสื่อต่างๆ. การสนับสนุนดังกล่าวได้รับการสะท้อนในรัฐสภาต่างๆอย่างหลากหลายในประเทศ ประชาธิปไตย เช่นเดียวกันกับในรัฐสภาสหรัฐและรัฐสภายุโรปต่างๆและ ในท้ายที่สุด ในรัฐบาลประเทศต่างๆด้วย. ถึงแม้ว่าจะเป็นการทำไปด้วยความฝืนใจ ไม่มีความสมัครใจ และไม่รู้สึกรู้สาเท่าไรนักก็ตาม แต่พวกเขาก็เจตนามากขึ้นที่จะแสดงให้เห็นว่า พวกเขาได้ให้ความเอาใจใส่ต่อเรื่องของธิเบต
และเมื่อเร็วๆนี้ หลายๆประเทศมากได้แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจของพวกเขา ออกมา แต่อันที่จริง พวกเขาต้องการที่จะช่วยเหลือในระดับปฏิบัติการที่เป็นจริงอันหนึ่งเท่านั้น. ด้วยเหตุดังกล่าว ในช่วงขณะนี้ ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าก็คือกระตุ้นสนับสนุนการเจรจาต่อรองที่มีความหมาย ต่างๆกับรัฐบาลจีน. ในหมู่พวกเรา การแต่งตั้งผู้ประสานงานพิเศษคนหนึ่งสำหรับธิเบตเป็นเครื่องบ่งชี้อันหนึ่ง ว่า พวกเราต้องการกระทำบางสิ่งบางอย่างในเชิงปฏิบัติการและเชิงสร้างสรรค์. ชาวจีนบางคนก็ได้แสดงออกถึงความเข้าใจอย่างซาบซึ้งเกี่ยวกับวิธีการประนี ประนอมและไกล่เกลี่ยอันนี้. พวกเขาเชื่อว่า ธิเบตมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะเป็นอิสรภาพ. ข้าพเจ้ารู้สึกว่าการสนับสนุนอันนี้ที่เกิดขึ้นมาก็เพราะ เราดำเนินรอยตามหลักอหิงสธรรม. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าวิธีการอหิงสาของข้าพเจ้าซึ่งยาวนานมากว่า 20 ปีหลังนี้ ได้พัฒนาคำประกาศอันหนึ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของสันติภาพ.
ท่านได้วางอนาคตเกี่ยวกับประเทศของท่านเอาไว้ไหม บนความเป็นไปได้อันคลุมเครือที่ว่า จีนจะเป็นประชาธิปไตย ?
จีนที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น จะทำให้มันง่ายขึ้นมากที่จะติดต่อด้วยกับประเด็นปัญหาของธิเบต. แต่นั่นมิได้หมายความว่า เพียงจีนที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะช่วยในเรื่องปัญหาของธิเบตได้; ไม่เลย ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ แม้กระทั่งบรรดาผู้ปกครองของจีนในปัจจุบัน สามารถที่จะช่วยในเรื่องปัญหาของธิเบต. ข้าพเจ้ารู้สึกว่าถ้ารัฐบาลจีนได้วิเคราะห์อย่างระมัดระวังโดยปราศจากความ กลัว ความสงสัยคลางแคลงใจ หรือความรู้สึกไม่ปลอดภัย ก็สามารถที่จะบรรลุถึงความมั่นคงที่แท้จริงและตกลงกันได้กับเราโดยผ่านการ พูดคุยที่มีความหมาย. ตราบเท่าที่ธิเบตยังได้รับความเป็นห่วงเป็นใย ความมั่นคงและเอกภาพอันผิวเผินมากๆ ซึ่งได้มาด้วยการใช้กำลังจะไม่มีความมั่นคงหรือยืนยง. อันนี้ไม่ใช่ความมั่นคงที่แท้จริง. ในทันทีที่กำลังอำนาจของพวกเขาน้อยลง ความไม่มั่นคงก็จะมาเยือน. ความมั่นคงที่แท้และความเป็นเอกภาพจะต้องมาจากหัวใจมิใช่ได้มาจากความกลัว.
ท่ามกลางบรรดาผู้นำสุดยอดของคอมมิวนิสม, มีอยู่ 2 กลุ่ม: กลุ่มที่หนึ่งมองว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้วิธีการปราบปราม. ส่วนอีกกลุ่มได้มองถึงความเป็นไปได้อีกอันหนึ่ง. นี่ไม่ใช่เพียงวันนี้เท่านั้น. หลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นถึงความคิดเห็นทั้งสองกลุ่มนี้. จีนพบว่ามันเป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงเกี่ยวกับธิ เบต. แต่จากทัศนคติและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ในระยะยาว ธรรมชาติที่ระเบิดออกมาอันนั้น มันจะไม่เป็นการดีทั้งต่อจีนเองและต่อธิเบตด้วย. ชาวจีนที่มีเหตุผลทุกคนต่างตระหนักในเรื่องนี้.
ท่านได้ขานรับอย่างไร ต่อการเพิ่มจำนวนมากขึ้นของชนชาวธิเบตซึ่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายของท่าน เกี่ยวกับหลักการไม่ใช้ความรุนแรง และกำลังใคร่ครวญถึงวิธีการที่ก้าวร้าวรุนแรงอย่างจริงจัง ?
แน่นอน พวกเขามีสิทธิอันชอบธรรมที่จะเรียกร้องอิสรภาพอย่างเต็มที่ในปัจจุบัน. เนื่องจากประสบการณ์ของพวกเขา ในช่วงระหว่าง 40 ปีหลังมานี้เกี่ยวกับความทุกข์ทรมานและการทำลายล้าง ชาวธิเบตเป็นจำนวนมากได้สูญเสียศรัทธาของพวกเขาที่มีต่อชาวจีนไปอย่าง สมบูรณ์. พวกเขาต้องการแบ่งแยกเด็ดขาดจากจีน. ข้าพเจ้าเข้าใจในเหตุผลต่างๆของพวกเขา แต่ข้าพเจ้ามีความเชื่อมมั่นอย่างเต็มที่ว่า โลกทั้งมวลคือครอบครัวมนุษย์ครอบครัวเดียวกัน. ธิเบตในเชิงประวัติศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดมากกับอินเดียและกับ จีน. ธิเบตเป็นประเทศที่เรียกว่า landlocked country (ประเทศซึ่งไม่มีทางออกทะเล ถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน) และล้าหลังในเชิงวัตถุ; พวกเราต้องการความพยายามอย่างมากสำหรับการพัฒนาทางด้านวัตถุ. ทรัพยากรต่างๆทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่เราต้องการความเชี่ยวชาญมาก. พวกเราต้องการพัฒนาเรื่องการสื่อสาร. ในท้ายที่สุด, ขอบเขตพรมแดนประเทศไม่ใช่สิ่งสำคัญ. สิ่งซึ่งเป็นสาระคือเรื่องของสิทธิประชาธิปไตยและเสรีภาพ ที่จะปฏิบัติตามวัฒนธรรมและศาสนาของพวกเรา.
ลึกเข้าไปในจิตใจของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า เขตแดนต่างๆไม่ใช่พื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญอะไรเลย. แต่ผู้คนทั้งหลายต่างพิจารณาว่า เขตแดนต่างๆเป็นเรื่องที่สำคัญมาก; แม้แต่เพียงไม่กี่นิ้วของดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาก็สำคัญ. ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามันไม่ใช่สาระ. พวกเราควรจะทำอะไรๆต่อกันอย่างมากมายที่ข้ามพ้นไปจากเขตแดนต่างๆอันนั้น. สันติภาพเป็นเรื่องซึ่งสำคัญกว่า. ผู้คนควรที่จะมีชีวิตที่มีความสุข มีชุมชนที่สันติสุข. ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่าชาวธิเบตและชาวจีน อันที่จริงแล้ว สามารถที่จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขได้.
การอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวธิเบตและพุทธศาสนาของธิเบตเป็นสิ่งซึ่งสำคัญ อย่างยิ่ง สำหรับชีวิตมนุษย์ที่มีความหมาย ความถูกต้องของท่าทีหรือทัศนคติทางใจต่อตัวของตัวเอง ต่อเพื่อนบ้านของเราและต่อสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งซึ่งสำคัญมาก. ในวัฒนธรรมพุทธศาสนาของชาวธิเบต ข้าพเจ้าเห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้เกิดความถูกต้องชอบธรรมเกี่ยวกับท่าทีหรือ ทัศนคติซึ่งมีต่อตัวของตัวเองและคนอื่นๆ เราปรารถนาให้ชาวจีนยินยอมให้เราได้ถือปฏิบัติในวิถีชีวิตแห่งพุทธธรรมของ เราอย่างอิสระ.
ถ้าหากว่าการปฏิวัติของจีนได้พัฒนาสังคมอย่างมีความหมายอย่างแท้จริง เป็นสังคมที่มีความสุข, ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น แน่นอน ก็จะไม่มีความต้องการสำหรับทางเลือกอื่นๆ. แต่ข้าพเจ้าคิดว่า จีนขาดศรัทธาอันนั้นไปแล้ว มันแตกสลายไปแล้ว ทุกวันนี้ มันเกือบจะมีพุทธศาสนานิกายใหม่ๆเกือบร้อยล้านนิกายในประเทศจีน และจำนวนของชาวคริสเตียนในท่ามกลางหมู่ชาวจีนก็เพิ่มขึ้นด้วย. ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ก็เพราะว่า มันยังคงมีบางสิ่งบางอย่างขาดหายไปอยู่.
สิ่งที่มาก่อนและอยู่บนสุดของข้าพเจ้าก็คือ การอนุรักษ์วัฒนธรรมพุทธศาสนาแบบธิเบตเอาไว้, ไม่จำเป็นเพียงแค่พุทธศาสนาในตัวมันเองเท่านั้น แต่หมายรวมถึงวัฒนธรรมพุทธศาสนาเอาไว้ด้วย. และการเก็บรักษาวัฒนธรรมพุทธศาสนาเอาไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จเช่นนั้นได้โดย ไม่ต้องมีความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากจีน, โดยไม่จำต้องแบ่งแยกอย่างเด็ดขาด. ถ้าหากว่าพวกเรายังคงต้องร่วมกับอีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นประเทศใหญ่, อย่างประเทศจีน เราอาจได้รับประโยชน์บางอย่างต่อพัฒนาการทางด้านวัตถุ และจะได้รับการเอาใจใส่
ในช่วงขณะที่มีการทำลายเกี่ยวกับวัฒนธรรมพุทธศาสนาในธิเบต วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า มีเหตุการณ์ต่างเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นในประเด็นดังกล่าว เวลากำลังถูกทอดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์: พวกเราไม่สามารถทนรออยู่ได้. อันตรายอันนี้มันช่างน่าตกใจจริงๆ.
ข้าพเจ้าเข้าใจอย่างเต็มที่ถึงความรู้สึกเกี่ยวกับภาวะที่ล่อแหลมของคน เหล่านั้น ซึ่งให้การสนับสนุนการต่อสู้ด้วยอาวุธในธิเบต. ขอให้เรามาคิดถึงเรื่องของความรุนแรงกันดู. ก่อนอื่นใดทั้งหมด เรามีปืนเพียงไม่กี่กระบอก, มีระเบิดอยู่เพียงไม่กี่ลูก. ดังนั้น พวกเราจึงต้องการอาวุธต่างๆเป็นจำนวนมากมาย. และจากที่ใดล่ะซึ่งพวกเราจะได้อาวุธและยุทธภัณฑ์เหล่านั้นมา ? ใช่…เรามีเงินอยู่บ้าง และเราสามารถซื้อหาอาวุธมาได้จากตลาดนานาชาติ. แต่เมื่อเราได้อาวุธเหล่านั้นมาแล้ว เราจะส่งมันไปยังประเทศธิเบตอย่างไร ? โดยผ่านอินเดียก็เป็นไปไม่ได้. โดยผ่านเนปาล, ก็เป็นไปไม่ได้อีก. การติดต่อกับอัฟกานิสถานก็มีภูมิประเทศซึ่งเต็มไปด้วยก้อนหิน แล้วก็ต้องใช้เวลาหลายเดือนมากกว่าจะไปถึงธิเบต.
และถ้าหากว่า อาวุธเป็นจำนวนมากมายมหาศาลไปถึงธิเบต, ประชาชนธิเบตเพียงไม่กี่หมื่นคนเริ่มจะเริ่มระดมโจมตี. คนจีนก็จะไม่นิ่งเฉยเหมือนกับเป็ด; พวกเขาก็จะใช้วิธีการอันรุนแรงตอบโต้เราด้วย. ดังนั้น หากว่าเรามีทหารธิเบต 1 แสนคน, ข้าพเจ้าคิดว่า อย่างน้อยที่สุด ทหาร 2-3 หมื่นคน หรืออาจจะ 4 หมื่นคนต้องถูกฆ่าตาย. สำหรับเราแล้ว หากชาวธิเบต 4 หมื่นคนต้องบาดเจ็บล้มตาย นั่นจะเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่มาก. แต่สำหรับชาวจีนแล้ว คนจำนวนหนึ่ง 1 แสนคนถือว่าน้อยมาก. ถ้าหากว่าคนจีน 1 แสนคนได้ถูกกำจัดทิ้งไปวันนี้ สัปดาห์หน้าคน 2 แสนคนก็จะมาแทนที่พวกที่ถูกขจัดไปอย่างไม่ยากเย็นอะไร. แต่ถ้าเป็นคนของธิเบต 1 แสนคนถูกฆ่า มันจะไม่มีการทดแทนขึ้นมาแต่อย่างใด มันคือการฆ่าตัวตาย. ด้วยเหตุนี้ สิ่งซึ่งยกตัวอย่างขึ้นมาเป็นคำตอบของข้าพเจ้าต่อชนชาวธิเบตเหล่านั้น ผู้ซึ่งชอบใช้ความรุนแรง. การตัดสินจากพัฒนาการเมื่อไม่นานมานี้, ดูเหมือนว่าอำนาจท้องถิ่นของจีนได้เชื้อเชิญความไม่สงบและความรุนแรงเข้ามา ในธิเบต. พวกเขาสามารถจัดการมันได้อย่างง่ายดายและอย่างมีประสิทธิภาพ.
ตัวอย่างที่ชัดเจนอันหนึ่ง. นั่นคือ ในรุ่งอรุณของวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1959 มีการยิงปืนใหญ่เข้ามาในกรุง Lhasa. ทุกๆคนเห็นว่ามันมาจากฝั่งของประเทศจีน. แต่แถลงการณ์ในกรุงปักกิ่งของจีนกลับประกาศว่า ชาวธิเบตได้เริ่มเปิดการยิงปืนใหญ่เข้ามาตกในกองทหารรักษาการของจีน ต่อจากนั้น รัฐบาลจีนจึงให้มีการตอบโต้อย่างเต็มที่. ในช่วงทศวรรษที่ 80 ทหารจีนคนหนึ่งผู้ซึ่งมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์ปี ค.ศ.1959 ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือเล่มเล็กๆเล่มหนึ่งว่า ทหารจีนได้เปิดฉากการยิงเข้าไปยังธิเบตก่อน.
ทั้งๆที่ความโหดร้ายเหล่านี้ต่อชนชาวธิเบตทำให้ชาวธิเบตต้องเจ็บปวดทุกข์ ทรมาน, ท่านยังขอร้องให้พวกเขาจะต้องไม่รู้สึกโกรธ, เพียงแผ่เมตตาไปยังผู้กดขี่ทั้งหลายที่กระทำกับพวกเขา. ท่านไม่คิดหรือว่า มาตรฐานของท่านมันเป็นมาตรฐานที่สูงเกินไป ?
นี่ล่ะคือประเด็นสำคัญ พวกเราไม่ควรที่จะสูญเสียความเมตตาของเราไปไม่ว่าสถานการณ์ต่างๆจะเป็นเช่น ไร. อันนี้ไม่ใช่แค่คำแนะนำของข้าพเจ้าเท่านั้น. พระภิกษุชาวธิเบตรูปหนึ่ง, ผู้ซึ่งข้าพเจ้ารู้จักเป็นอย่างดี, ที่วัด Namgyal ใน Potala ที่กรุง Lhasa ได้อรรถาธิบายถึงภารกิจอันสำคัญอันนี้. เขาได้ใช้เวลายาวนานถึง 17 ปี ในค่ายกักกันแรงงานของจีน และในช่วงระหว่างวันเวลาเหล่านั้น ในโอกาสซึ่งมีอยู่เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นที่เขาต้องเผชิญหน้ากับภัย อันตรายครั้งหนึ่ง. ข้าพเจ้าถามท่านว่าเป็นอันตรายร้ายแรงประเภทไหนกันล่ะที่ท่านต้องเผชิญ; ข้าพเจ้าคิดว่ามันจะต้องเป็นอันตรายต่อชีวิตของท่าน. แต่ท่านกลับตอบว่า อันตรายของการสูญเสียความเมตจตาต่อชาวจีน. ข้าพเจ้าไม่สามารถปฏิบัติเช่นนั้นได้, ข้าพเจ้าคิด, แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากนั้น จริงๆแล้ว ท่านกลับปฏิบัติการด้วยการเจริญเมตตาได้.
การไม่ใช้ความรุนแรงเป็นธรรมชาติอันดับที่สองต่อวัฒนธรรมพุทธศาสนาของ ท่าน. ในคุณค่าทางศาสนาตามขนบประเพณีตะวันตก สิ่งเหล่านี้กำลังสาบสูญไป. เราจะสามารถเป็นตัวแทนการไม่ใช้ความรุนแรงได้อย่างไร เมื่อคุณค่าทางจิตวิญญานได้กลายเป็นคนแปลกหน้ามากๆสำหรับพวกเราไปแล้ว ?
ในด้านหนึ่ง, ใช่ คุณค่าทางศาสนาตามขนบประเพณีได้ถูกทำให้อ่อนแอลง. แต่มันมีคุณค่าใหม่ๆที่ถือกำเนิดขึ้นมา; คุณค่าต่างๆทางนิเวศวิทยา เป็นตัวอย่าง, ข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือลักษณะเฉพาะต่างๆทางศาสนา มันมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานเกี่ยวกับศรัทธาในศาสนา, แต่มันมีฐานอยู่บนความสำคัญที่เป็นจริงเกี่ยวกับความห่วงใยในการไม่ใช้ความ รุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม. ข้าพเจ้าคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือพัฒนาการที่เต็มไปด้วยสุขภาพอนามัยที่ดี. ในหนทางหนึ่ง อิทธิพลทางศาสนาในปัจจุบันได้ลดทอนลงมา แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์ที่ดำรงชีวิตอยู่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นหนุ่มรุ่นสาว; เนื่องมาจากความเปิดกว้างของพวกเขา ดูเหมือนว่าพวกเขากำลังเคลื่อนเข้าไปใกล้กับความจริงอันนั้น.
ข้าพเจ้าได้พูดกับคนฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่ง และได้ไต่ถามพวกเขาเกี่ยวกับประเทศเยอรมันนี. ข้าพเจ้าคิดว่า เมื่อ 40 ปีล่วงมาแล้ว ในสายตาของคนฝรั่งเศส ประเทศเยอรมันนีเป็นบางสิ่งที่เลวร้ายมาก, แต่ปัจจุบันคนสองคนของสองประเทศนี้เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน. ในทำนองเดียวกัน นักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ชาวเยอรมันคนหนึ่งบอกกับข้าพเจ้าว่า 40-50 ปีมาแล้ว เมื่อเขาได้พบกับคนฝรั่งเศส เขาพบว่ามันเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากและไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยที่จะปฏิบัติ ตัวอย่างไร. แต่ทุกวันนี้ สิ่งเหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสมบูรณ์แล้ว นี่คือเครื่องหมายต่างๆของความเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น. มาถึงตอนนี้ ชาวเยอรมันและชาวฝรั่งเศสได้ปฏิบัติต่อกันเหมือนดั่งกับการเป็นพี่เป็นน้อง กัน.
ในการรำลึกถึงความทรงจำของท่านเมื่อวัยเยาว์ ท่านได้อธิบายว่า ท่านเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความโกรธมากมายอย่างไร, แต่หลายปีต่อมา ท่านกล่าวว่า ท่านได้จัดการเพื่อขจัดความโกรธออกไปได้จนเกือบจะสมบูรณ์แล้ว.
แน่นอน จิตใจของมนุษย์และอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากว่าคุณใช้ความพยายาม. ด้วยการกำหนดตัดสินใจและความอดทนคุณสามารถที่จะแปรเปลี่ยนความโกรธและลดทอน การยึดติดลงไปได้. ความเชื่อมั่นในตัวเองและความเมตตาสามารถเพิ่มขึ้นมาได้. แต่มันต้องใช้เวลาและมันไม่ง่ายนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดว่าความเมตตาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะคัมภีร์ทางศาสนาของเรากล่าวเอาไว้อย่างนั้น. ความเมตตาในระดับปฏิบัติการที่เป็นจริงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์และให้ผลดี อย่างยิ่ง.
มันใช่เวลาหรือ ที่ความเมตตาของท่านจะส่งไปถึงชาวจีนที่เพิ่มความทุกข์ทรมานมากขึ้นให้กับพวกท่าน ?
เมื่อข้าพเจ้าเจริญเมตตาที่มีต่อพี่น้องชาวจีนของเรา มันไม่ใช่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความโหดร้ายต่างๆ แต่มันอยู่บนพื้นฐานของมนุษยธรรมของพวกเขา เมื่อคุณตั้งจิตให้มีสมาธิกับความเมตตาจากมุมดังกล่าว คุณจะเห็นว่าพวกเขาเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาเท่านั้น พวกเขาไม่ต้องการความเจ็บปวดทุกข์ทรมานใดๆเช่นกันเหมือนกับพวกเรา; พวกเขามีสิทธิอันชอบธรรมทุกประการที่จะพิชิตและเอาชนะความทุกข์ยาก. ดังนั้น คุณจึงเห็นว่าพวกเราต่อต้านการกระทำของพวกเขา โดยปราศจากการต้องสูญเสียความเมตตาที่มีต่อบุคคลไป.
ท่านเคยตรัสว่า ทะไลลามะองค์ต่อไปจะทรงประสูติขึ้นมานอกอาณาเขตของธิเบต
ไม่ว่าสถาบันของทะไลลามะ จะดำเนินต่อไปหรือไม่ก็ตาม, นั่นเป็นเรื่องของผู้คนชาวธิเบตจะต้องตัดสิน. ถ้าหากว่าอีก 2-3 สัปดาห์ต่อไปข้าพเจ้าต้องมรณภาพลง เป็นไปได้มากที่สุดว่า ชนชาวธิเบตทั้งหลายต้องการที่จะมีองค์อวตารอีกองค์หนึ่ง. แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้ายังคงกล่าวอะไรต่อไปได้อีก 30-40 ปี ถ้าเป็นเช่นนั้น บางที สถานการณ์ดังกล่าวอาจกลายเป็นว่าสถาบันขององค์ทะไลลามะอาจจะไม่สอดคล้องเป็น ที่ต้องการอีกต่อไปแล้ว; นั่นคือสิ่งที่เป็นไปได้มาก. แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สถาบันทะไลลามะควรจะดำรงอยู่ต่อไปหรือไม่ นั่นไม่ใช่ความห่วงใยของข้าพเจ้า. ความเป็นห่วงเป็นใยของข้าพเจ้าคือ ประชาชาติธิเบตและวัฒนธรรมธิเบตจะต้องคงอยู่. แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจะตัดสินอนาคตอันนั้นให้เร็วที่สุดเมื่อข้าพเจ้าได้หวนคืนกลับสู่ธิ เบตด้วยระดับของการเป็นอิสระในการปกครองตนเองในบางระดับ. ข้าพเจ้าจะส่งมอบอำนาจหน้าที่ของข้าพเจ้าทั้งหมดให้กับรัฐบาลธิเบต. รัฐบาลชุดนั้นควรจะเป็นรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้ง.
ผู้คนส่วนใหญ่ของชาวธิเบตรู้สึกว่าสถาบันขององค์ทะไลลามะควรจะต้องคงอยู่ ต่อไป และการสืบทอดนั้นควรดำเนินไปตามขนบประเพณีด้วย ด้วยเหตุนี้ คำถามเกี่ยวกับทะไลลามะองค์ต่อไปจึงเกิดขึ้นมา. สมมุติว่าพวกเรายังคงอยู่นอกอาณาเขตของธิเบต และชนชาวธิเบตยังต้องการรักษาสถาบันของทะไลลามะเอาไว้อย่างแท้จริง ถ้าเผื่อว่าข้าพเจ้ามรณภาพลง ภายใต้สถานการณ์อันนั้น การกลับชาติมาเกิดของข้าพเจ้าก็จะปรากฎขึ้นอีกครั้ง. การกลับชาติมาเกิดอีกครั้งของข้าพเจ้าหรือการอวตารใหม่ขององค์ทะไลลามะจะ ปรากฎขึ้นนอกประเทศธิเบต เพื่อที่จะดำรงภารกิจแห่งชีวิตก่อนหน้านี้ต่อไป ซึ่งมันยังไม่บรรลุผลสำเร็จ.

ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

 เนื่องจากสิ่งแวดลอมมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากมายดังนี้
               1. เป็นแหล่งปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต
                มนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมเพื่อการดํารงชีวิตดังนี้
                   
 1.1 อาหารการดํารงชีวิตของมนุษย์ต้องกินอาหารซึ่งมีแร่ธาตุและพลังงานต่างๆ จากพืชและสัตว์ อาศัยน้ำที่หมุนเวียนอยู่ในธรรมชาติในการดื่มและใช้ อาศัยดินเป็นแหล่งผลิตอาหารทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ มนุษย์บางกลุ่มอาจกินเฉพาะพืชหรือเฉพาะสัตว์ กินทั้งอาหารสดและอาหารที่ทําให้สุกแล้ว การแสวงหาอาหารของมนุษย์ได้มีการพัฒนามาโดยลําดับ เริ่มต้นแสวงหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ การนําอาหารมาเก็บสะสมไว้ที่บ้าน จนถึงการรู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการผลิตอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติได้เอง
                  
1.2 ที่อยู่อาศัย เดิมทีมนุษย์อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ต้องอาศัยหลับนอน พักผ่อนเลี้ยงดูสมาชิกครอบครัวตามร่มไม้ หุบเขาหรือถ้ำ ดัดแปลงธรรมชาติเพื่อป้องกันภัยที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม แดดร้อน ฯลฯ ตลอดจนการสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันภัยจากธรรมชาติ สัตว์อื่น รวมทั้งการป้องกันภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง การเลือกที่อยู่อาศัยก็มักเลือกตามแหล่งที่สามารถหาอาหารและน้ำได้สะดวก ปลอดภัย ดังนั้นการเลือกทําเลที่อยู่อาศัยเป็นความตั้งใจและเป็นการกระทําที่ต้องมี ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทรัพยากร ธรรมชาติ
                   
1.3 เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนุ่งห่มในสมัยแรกนั้นเป็นการนําใบไม้ เยื่อไม้และหนังสัตว์ที่หาได้มาห่อหุ้มร่างกายเพื่อให้ความอบอุ่น หรืออาจนํามาประดับร่างกายเพื่อแสดงความสามารถในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ จากนั้นมีการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุที่หาได้ในถิ่นที่อยู่อาศัย สําหรับสมาชิกในครอบครัว ต่อมาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของมนุษย์ทําให้เกิดการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่ง ห่มเพื่อการค้า
                   
1.4 ยารักษาโรค การสังเกตสิ่งแวดล้อมมนุษย์เริ่มใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคภัยไข.เจ็บ โดยเอามาทั้งต้น กิ่ง ก้าน เปลือก แก่น ดอก ราก ต้มกินหรือทาครั้งละมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ตัวทําละลายที่เหมาะสม เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ สกัดเอาตัวยาแท้ ๆ จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ แล้วทําให้ตัวทําละลายระเหยไป เหลือแต่ตัวยาไว้ทําให้เป็นผงหรือผลึก ใช้กินแต่น้อย   นอกจากการสกัดตัวยาจากสมุนไพร มนุษย์ยังใช้วิธีสังเคราะห์ยาเลียนแบบตัวยาในสมุนไพรโดยใช้วัตถุดิบจากสิ่งแวดล้อม

               2. สิ่งกําหนดการตั้งถิ่นฐานและชุมชน
               ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็น ปัจจัยที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตใน บริเวณพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบรอบๆ ทะเลสาบ ที่ราบชายฝั่งทะเล จึงมักเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่จนปัจจุบัน เช่น อียิปต์ กรีก โรมัน จีน อินเดียและได้กลายเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของโลก

               3. ตัวกําหนดลักษณะอาชีพ
               มนุษย์ในแต่ละท้องถิ่นจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ตามสภาพของพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น บริเวณที่ราบลุ่มมักจะมีอาชีพทําเกษตรกรรม บริเวณชายทะเลหรือเกาะต่างๆ ก็จะทําการประมง บริเวณที่เป็นแหล่งแร่ก็จะทําเหมืองแร่เป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้สภาพของพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติยังมีผลต่อการผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่แตกต่างกันอีกด้วย

               4. ตัวกําหนดรูปแบบของวัฒนธรรม
               รูปแบบวัฒนธรรมของมนุษย์แต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการดําเนินชีวิตที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เช่น การแต่งกาย การกินอาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อและค่านิยมต่างๆ ล้วนถูกกําหนดให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นทั้งสิ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมยังมีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัยใจคอของมนุษย์อีกด้วย เช่น ในเขตอบอุ่นผู้คนมักมีนิสัยสุขุมรอบคอบ ใจเย็น กระตื้อรือร้น และขยัน แต่ในเขตร้อนผู้คนมักจะมีนิสัยที่ตรงข้ามกับเขตอบอุ่น เช่น เฉื่อยชา เกียจคร้าน ใจร้อน หงุดหงิดอารมณเสียง่าย ขาดความรอยคอบ ส่วนคนที่อาศัยอยู่ในป่ามักมีนิสัยดุร้าย ชอบการต่อสู้ และผจญภัย

               5. กิจกรรมทางด้านการเมือง
               หน่วยการเมืองที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก จะรวมตัวเป็นหน่วยเดียวกันได้จะต้องมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน มากที่สุด ส่วนการดําเนินกิจกรรมทางการเมืองจะเป็นมิตรหรือศัตรูกันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความกดดันทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นต้นว่าถ้า เกิดความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติกับจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น หรือพรมแดนธรรมชาติที่เป็นร่องน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือเกิดความแตกต่างในลัทธิความเชื่อทางศาสนา ตัวอย่างเช่น การที่กองทัพญี่ปุ่นเขายึดครองเกาะไต้หวัน และแมนจูของจีนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเพาะญี่ปุ่นเกิดปัญหาเรื่องอาหารไม่พอเพียงสําหรับเลี้ยงประชากรที่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และดินแดนของจีนทั้งสองแห่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผลที่ญี่ปุ่นต้องการ หรือกรณีความแตกต่างในเรื่องลัทธิศาสนาจนเป็นเหตุทําให้อินเดียและปากีสถาน ต้องแยกหน่วยการเมืองออกจากกันและเป็นศัตรูต่อกันจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

               จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่คอยค้ำจุนความเจริญของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน การศึกษาทางวิ ทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมทําให้ ประชาชนหรือชุมชนรู้ จักใช้ ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นอย่างชาญฉลาดแล้ว ประชาชนจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอยู่ดีกินดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศหรือชุมชนใดที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติหรือประชาชนขาดความรู้ความเข้า ใจ และไม่ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดความระมัดระวัง และความรับผิดชอบต่อการใช้และบํารุงรักษา ก็จะทําให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องสูญเสียไปอย่างไม่คุ้มค่าและขาดแคลนในที่สุด แล้วชุมชนหรือประเทศนั้นก็ตกอยู่ในฐานะที่ยากจน คุณภาพชีวิตต่ำ ปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

              หลายต่อหลายครั้งที่พบว่า ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมบางส่วนเนื่องมาจากผลการพัฒนาที่มิได้คํานึงถึงสิ่ง แวดล้อม ดังนั้นแนวความคิดที่ถูกต้องในการพัฒนาก็คือ การพัฒนาที่คํานึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลการพัฒนานั้นก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตมนุษย์ ในปัจจุบันรัฐบาลของหลายประเทศจึงหันมาให้ความสําคัญในเรื่องของการพัฒนา สิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน นั่นคือการอยู่ดีกินดีของประชาชนในสังคมให้ดีขึ้นภายในกรอบและขอบเขตความ เป็นจริง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเอกลักษณ์ระดับมาตรฐานสภาพความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม สังคม

              การพัฒนาเพื่อคุณภาพแห่งชีวิตนั้น ก็คือความพยายามร่วมกันในอันที่จะใช้ทรัพยากรอันมีค่าของชาติให้ เกิดผลดี ที่สุดและสอดคล้องกับชีวิตจิตใจความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาติให้มากที่สุด ในความพยายามร่วมกันนี้จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นไปในรูปแบบของสหวิทยา การ (วิชาการหลายสาขาร่วมกัน) เพื่อให้แน่ใจได้ว่าโครงการพัฒนาทั้งมวลจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือหากว่ามีก็จะต้องน้อยที่สุด

              หลักปฏิบัติพื้นฐานอันเป็นหลักทั่วไปของโครงการพัฒนาต่างๆ ควรจะต้องคํานึงถึงหลักสําคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
                    1. ผลดีในทางเศรษฐกิจ
                    2. ความเหมาะสมในทางสังคม
                    3. เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางเทคโนโลยี
                    4. เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในด้านสิ่งแวดล้อม




ความหลากหลาย

ความหลากหลาย


แม้เมืองไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงแต่แบบเรียนไม่ถือเป็นลักษณะสำคัญที่จะแนะนำให้เด็กไทยรู้จักนัก ทว่าในชีวิตจริง ไม่ว่าจะถูกสั่งสอนในโรงเรียนมาอย่างไร คนไทยก็ได้เห็นความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมอยู่เต็มตา ตลอด เพียงแต่ว่าคำสอนจากโรงเรียนทำให้คนไทยมองความแตกต่างนี้ว่าเป็นความเพี้ยน หรือการแปรเปลี่ยน ของวัฒนธรรมที่เป็นเนื้อเดียวกันเท่านั้น
เรียกให้ฟังขลังๆ ว่า "อนุวัฒนธรรม" เป็นแค่เมียน้อยของวัฒนธรรมกระแสหลัก ที่ใช้กันในคนบางกลุ่มบางเหล่า แต่ก็ยังร่วมสังกัดในครอบครัววัฒนธรรมกระแสหลักนั่นเอง
เมื่อผมเป็นเด็ก มีเพื่อนคนหนึ่งเขาไปเที่ยวอีสานมา แล้วกลับมาบอกผมว่าคนอีสานพูดภาษาไทยไม่ชัด นั่นคือภาษา ลาวถูกถือเป็นภาษาไทยที่บิดเบี้ยวไป ไม่ใช่ภาษาถิ่นต่างหาก อีกภาษาหนึ่ง เหมือนกับภาษากรุงเทพฯ ก็เป็นภาษาถิ่น อีกภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาไทย
การกลืนความหลากหลายแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนี้เริ่มจะแค้นคอมากขึ้น เมื่อเราต้องเผชิญกับ "ชาวเขา" หรือชาวเขมร (สูง) และกูยในอีสานล่าง, หรือชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในตระกูลภาษาไทย แต่จะถือว่า รัฐไทยโชคดีก็ได้ เพราะความหลากหลายแตกต่างทางวัฒนธรรมช่วงนี้ โผล่มาพร้อมกันกับการท่องเที่ยว หรืออาจเป็นไปได้ด้วยว่าการท่องเที่ยวนั่นแหละที่ไปดึงเอาความหลากหลายแตกต่างเหล่านี้ให้ปรากฏขึ้นในสังคม
สังคมไทยยอมรับอย่างไม่ยากนักว่า ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นความมั่งคั่ง... แหะๆ ก็มีบางคน ได้เงินจากการเอาชาวเขามาเต้นระบำให้ดูจริงๆ นี่ครับ...
พูดกันอย่างไม่ประชดก็คือ เป็นการยอมรับปลอมๆ เพราะไม่ได้ยอมรับแบบให้เกียรติให้คุณค่า (ไม่ใช่ให้มูลค่า) แก่วัฒนธรรมที่แตกต่าง ในขณะที่ชื่นชมกับการแข่งรถไม้ลงภูเขาของชาวม้ง, หรือการเต้นรำฉลองของชาวอาข่า หรือการเล่นดนตรีประกอบ "ทา" ของชาวกะเหรี่ยง แต่เราไม่ยอมรับวิถีชีวิตที่เป็นจริงของเขา เรามองการ ทำไร่หมุนเวียนของเขาเท่ากับการทำไร่เลื่อนลอย จึงบีบบังคับให้เขาหยุดด้วยการ ทำไร่บนพื้นที่ กรรมสิทธิ์ เฉพาะบุคคล เหมือนกับวิชาทำไร่ของพวกเราชาวพื้นราบ เรากวาดต้อนชาวม้งจำนวน มากมาอยู่ในค่ายกักกัน บนพื้นราบ โดยไม่ใส่ใจกับการจัดองค์กรทางสังคมของเขา หรือช่องทางทำมาหากินที่เขารู้จักและชำนาญ
แม้แต่การละเล่นและการเต้นรำของเขาก็ถูกเราดัดแปลงให้เหมาะกับการเป็นมหรศพ เพื่อขายนักท่องเที่ยว
ความตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทยจึงแปลกๆ อยู่ เพราะเป็นการนำเอา วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายนั้นมาอยู่ภายใต้การครอบงำของวัฒนธรรมเดียว ไม่ใช่วัฒนธรรม "ไทย" นะครับ แต่อยู่ภายใต้การครอบงำของวัฒนธรรมพานิชยนิยมต่างหาก (รวมทั้งวัฒนธรรม "ไทย" เองก็ถูกนำไปอยู่ใต้ร่ม เดียวกันด้วย อยากดูโขนหรือครับ โน่น โรงแรมห้าดาวเขาจัดแสดง "โขนเคล้าข้าว" ให้แขกของเขาได้ชมทุกมื้อ อาหารเย็นแหละ)
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ครั้งนี้ นำเอาความแตกต่างทางวัฒนธรรมในสังคมไทยให้ปรากฏขึ้น ในอีกรูป แบบหนึ่ง นั่นก็คือ เอาไปขายให้นักท่องเที่ยวไม่ได้ ซ้ำปรากฏตัวในรูปของความ "ไม่ไทย" อย่างชัดเจน อันที่จริงออกจะมีความระแวงสงสัยคำว่า "ไทย" ที่ใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อแต่ไม่ชัดเจนด้วย
ถ้า "ไทย" แปลว่าพุทธ ชาวมลายูในภาคใต้ประกาศชัดเจนว่าเขาไม่ใช่ ถ้า "ไทย" แปลว่าต้องพูดไทยได้ อ่านภาษาไทยออก ดูโขนเป็น หรือนุ่งโจงกระเบน แล้วร้องเพลงไทย (เดิม) เขาก็ทำไม่เป็นและคงไม่อยากทำด้วย เพราะเขายังอยากเป็นมลายูเหมือนเดิม "ไทย" ในเงื่อนไขเดียวที่เขารับได้ก็คือความเป็นพลเมืองของ รัฐที่เรียก ตัวเองว่าไทย และพึงได้รับสิทธิทุกอย่างตามที่รัฐธรรมนูญของประเทศนี้กำหนดไว้ให้แก่พลเมืองของตัว
เวลาคนไทยทั่วๆ ไปพูดถึง "ไทย" ไม่ชัดว่าหมายถึงอะไรกันแน่ ฉะนั้น ผมจึงไม่แน่ใจว่าคำขวัญประเภท "รักกันไว้ เราไทยด้วยกัน" ในทัศนะของชาวมลายูในภาคใต้ ปลุกความสามัคคีหรือความแตกแยกกันแน่
ความเป็นมลายูอย่างที่เขาเป็น ซึ่ง "ไม่ไทย" และเอาไปขายนักท่องเที่ยวไม่ได้ จึงเป็นวัฒนธรรมที่แตกต่าง ซึ่งชาติไทย (และคนไทยอื่นๆ) ต้องกลืนลงไปให้ได้ ถ้าอยากรักษาความเป็นประชาชาติไทยของเราไว้
นักวิชาการจำนวนมากชี้ประเด็นความอิหลักอิเหลื่อทางวัฒนธรรมตรงนี้ออกมาหลายคนเสนอว่าควรปรับเปลี่ยน
ระบบการศึกษา (ซึ่งต้องหมายรวมถึงการเรียนรู้ผ่านสื่อมวลชนด้วยไม่ใช่เฉพาะห้องเรียน) เพื่อสร้างความรู้ความ เข้าใจแก่คนไทยว่า คนที่แตกต่างจากเราทางวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิงนั้นก็มีสิทธิในชาติเท่าเทียมกับเรา วัฒนธรรม ของแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายล้วนมีรากเหง้าฝังลึกอยู่ในแผ่นดินนี้ พัฒนาคลี่คลายมาตามลำดับ มีความลุ่มลึก และมีปัญญาญาณอันลึกซึ้งอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ ทั้งสิ้น และนี่คือความ "มั่งคั่ง" ที่แท้จริงของความหลาก หลายทางวัฒนธรรม ไม่ใช่เพราะจะเอาไปขายใครได้ แต่เพราะความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อม ให้ทางเลือกที่หลากหลายแก่สังคมไปพร้อมกัน

เช่นในขณะที่กลไกทางวัฒนธรรมที่ช่วยพยุงให้คนจนพออยู่ได้ในวัฒนธรรมไทยเสื่อมสลายไปเกือบหมดเช่นนี้ เราอาจเรียนรู้และปรับใช้กลไกทำนองเดียวกันนี้ซึ่งยังค่อนข้างมีชีวิตชีวาอยู่ในสังคมมลายูมุสลิมได้ การจัดการ ศึกษาที่ทำให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการควบคุมโรงเรียนระดับหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเดียวตาม พ.ร.บ.การศึกษา (ซึ่งกำลังถูกทำให้เป็นหมันอยู่เวลานี้) เราอาจเรียนรู้การจัดการตาดีกาและปอเนาะในชุมชนมลายูมุสลิม ซึ่งทำให้ เกิดดุลยภาพทางอำนาจที่เหมาะสมระหว่างชาวบ้านและโต๊ะครูได้
นี่แหละครับคือความมั่งคั่งที่แท้จริงของความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ถ้าเกิด "สำนึก" ใหม่ในสังคมไทยอย่างที่นักวิชาการผลักดันอยู่เวลานี้ ก็ต้องถือว่าเป็นก้าวที่สร้างสรรค์ อย่างสำคัญเพราะเราจะเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมอันมีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมได้อย่างไม่ต้องยกตนข่มท่าน
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมีการปลูกฝัง "สำนึก" ใหม่ผ่านการศึกษา (ในความหมายกว้างกว่าโรงเรียน) ผมคิดว่ายังมี ความหลากหลายทางวัฒนธรรมอีกมิติหนึ่งซึ่งสังคมไทยน่าจะเรียนรู้ไปด้วย
น่าสังเกตนะครับว่า ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมที่พูดถึงกันมากในสังคมไทย ไม่ว่าจะมองว่า เป็นปัญหาหรือมองว่าเป็นพลังก็ตามล้วนเป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีการยกขึ้นมาให้ความสำคัญอยู่เวลานี้ แม้ในวงวิชาการเอง ก็เป็นเรื่องของกลุ่มชาติพันธุ์...มอญ, เขมร, กุย, เจ๊ก, และมลายู
แต่ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ซึ่งวงชีวิตของแต่ละคนต้องเข้าไปสัมพันธ์กับความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กว้างขวางทั้งสิ้น ทำให้เราต้องเผชิญกับวัฒนธรรมที่แตกต่างได้โดยไม่สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างอีกหลายอย่าง
ตัวอย่างง่ายๆ ที่เราทุกคนเผชิญอยู่ก็ได้ครับ วัฒนธรรมเกย์ไงครับ
เรามักจะนึกถึงความแตกต่างของเกย์เพียงด้านเดียวคือรสนิยมทางกามารมณ์ แต่จะเป็นเพราะรสนิยมนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับหรือเพราะอะไรก็ตาม มันไปมีผลต่อระบบความสัมพันธ์ของเขากับมนุษย์คนอื่นด้วย นั่นก็คือทำให้เขาอยู่ภายใต้วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ได้เหมือนกับคนอื่น และผมเรียกว่าวัฒนธรรมเกย์
ตราบเท่าที่เราไม่เข้าใจ หรืออย่างน้อยมีใจที่ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมของเขา ก็ยากที่เราจะยอมรับเกย์อย่างมนุษย์ที่เท่าเทียมกับเราได้ ทำนองเดียวกับการไม่ยอมรับให้กะเหรี่ยงเป็นกะเหรี่ยง, เย้าเป็นเย้า, มลายูเป็นมลายูแหละครับ
ผลก็คือ เกย์ถูกรังเกียจ ถูกเลือกปฏิบัติ หรือแม้แต่ถูกรังแกในรูปแบบต่างๆ ไม่มีใครมีความสุขเลย เกย์ก็ไม่มี ความสุข คนอื่นก็ไม่มีความสุข (ยกเว้นนักจิตวิทยาที่หากินกับการหลอกลวงคนอื่นว่าสามารถรักษาเกย์ได้)
ถ้ามองให้กว้างไปกว่าเกย์ ยังมี "อนุวัฒนธรรม" ที่คนไทยไม่ยอมทำความเข้าใจในแง่นี้อีกเยอะแยะนะครับ ผู้ติดเชื้อ, ชาวสลัม, คนเร่ร่อน, ขอทาน, เด็กเร่ร่อน, คนติดยา, หาบเร่, ซาเล้ง, หรือแม้แต่กรรมกร, ชาวนา, พระ, วัยรุ่น, นักศึกษา, อาชีวะ, กะปี๋, โชเฟอร์สิบล้อ ฯลฯ แล้วก็ได้ผลอย่างเดียวกันกับเกย์ คือไม่มีความสุขสักฝ่ายเดียว แม้แต่จะแก้ไขอะไรที่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคมก็ทำไม่ได้
ในปัจจุบัน ผมคิดว่ามีเพียงสองสถาบันที่ให้ความสนใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมเช่นนี้อย่างจริงจัง
สถาบันแรก คือศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ซึ่งได้ส่งเสริมให้มีการศึกษาหรือส่งเสริมให้ผู้ศึกษาได้ เผยแพร่ความรู้เกี่ยว กับ "อนุวัฒนธรรม" เหล่านี้ ผมคิดว่าเป็นงานที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นงานประเภท "บุกเบิก" ที่มีนัยะสำคัญทั้งสิ้น
อีกสถาบันหนึ่งคือ "การตลาด" ของพ่อค้าครับ ความรู้เกี่ยวกับ "อนุวัฒนธรรม" เหล่านี้ ทำให้พ่อค้าวางสินค้า ได้ตรงเป้า ลงทุนกับการตลาดน้อยลงเมื่อเทียบกับผลกำไรที่ได้คืนมา สรุปง่ายๆ ก็คือ หาและมีความรู้ เพื่อเอาไปทำกำไร เพราะเป็นคุณค่าของความรู้เพียงอย่างเดียวที่พ่อค้ารู้จัก... แต่ประโยชน์ที่สังคมจะได้รับไม่มี

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

นโยบายเปิดเสรีรับการลงทุนการค้าต่างประเทศมีทั้งข้อดีและข้อด้อย
      นโยบายการ พัฒนาประเทศที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการลงทุนและการค้ากับต่าง ประเทศอธิบายว่า เนื่องจากไทยเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกหรือส่วนหนึ่งในกระบวนโลกาภิวัตน์  คนไทยจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องใช้นโยบายเปิดเสรีต้อนรับการลงทุนและการค้าจากต่างชาติ  และพยายามแข่งขันให้ชนะเขา
      ความที่แนวคิด นี้แพร่หลายมากจนทำให้คนทั่วไปรับรู้ทางเดียว และเข้าใจว่าการพัฒนาประเทศมีหนทางเดียวคือทางนี้เท่านั้น   แต่นี่เป็นเพียงแนวคิดการพัฒนาแนวหนึ่งที่เผยแพร่และครอบงำโดยชนชั้นนำจาก ประเทศมหาอำนาจ ที่ชนชั้นนำไทยส่วนใหญ่เห็นด้วย เนื่องจากพวกเขาล้วนได้รับการศึกษาแนวตะวันตกและเพราะมีผลประโยชน์ร่วมด้วย     แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสุดโต่งที่มองแต่ด้านผลดีของการเปิดเสรีเพียงด้าน เดียว   ทั้งที่การเปิดเสรีเร็วเกินไปหรือมากเกินไปมีผลเสียต่อประชาชนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งยังอ่อนแอ ไม่พร้อมที่จะแข่งขันแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาในตอนนี้ได้
      แม้แต่คำว่าโลกาภิวัตน์  (Globalization) ก็ถูกใช้ในความหมายทางบวกอย่างสุดโต่ง เหมือนกับเป็นความทันสมัยที่ทุกประเทศทุกคนควรมุ่งไปสู่ แต่คำนี้ความจริงมีความหมายเพียงแค่กระบวนการที่ระบบการผลิตการค้าแบบทุน นิยมอุตสาหกรรมขยายตัวข้ามชาติได้อย่างเสรีในลักษณะเดียวกันทั่วโลก  ทำให้เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ มีความสัมพันธ์พึ่งพาลงทุนและค้าขายกันมากขึ้น  เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกที่ขึ้นอยู่กับบริษัททุนข้ามชาติ ขนาดใหญ่ 500 แห่งมากขึ้น
      กระบวนการโลกาภิวัตน์ จึงมีทั้งผลดีและผลเสีย  ไม่ได้มีแต่ผลดีด้านเดียว  เราสามารถวิพากษ์หรือแม้แต่คัดค้านโลกาภิวัตน์อย่างสุดโต่ง และเสนอการพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ เช่น  การพัฒนาแบบพึ่งตนเอง  (เศรษฐกิจพอเพียง)  การพัฒนาเพื่อความสุขประชาชาติ และเพื่อความยั่งยืนเป็นด้านหลัก โดยที่ยังคงมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ในระดับที่จำเป็นได้
      การที่รัฐบาล ไทยมีนโยบายเปิดเสรีทางการลงทุนและการค้าอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว มีทั้งผลดีและผลเสียสำหรับประชาชนส่วนใหญ่  ในฐานะที่เราเป็นประเทศที่พัฒนาทุนนิยมทีหลังและเป็นทุนนิยมด้อยพัฒนาหรือทุนนิยมบริวาร การเปิดเสรี (โดยเฉพาะการทำสัญญาเปิดเสรีทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ คือ ไทยกับประเทศที่เศรษฐกิจใหญ่กว่า มากเกินไปหรือเร็วเกินไป จะทำให้ไทยในฐานะประเทศที่เล็กกว่า มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจน้อยกว่า และโดยเฉพาะในสาขาเกษตร  สาขาอุตสาหกรรมขนาดกลางขนาดย่อมที่ประชาชนส่วนใหญ่ของไทยยังมีประสิทธิภาพ และอำนาจต่อรองต่ำกว่าประเทศคู่สัญญาที่ใหญ่โตกว่า จะทำให้ประชาชนไทยเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ มากกว่าจะได้ประโยชน์
ควรเปิดเสรีอย่างมีจังหวะก้าวและคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนส่วนใหญ่
      จริงอยู่ที่ การเปิดประเทศก็มีส่วนที่ดีอยู่ด้วยเช่นกัน แต่น่าจะเป็นการเปิดเสรีในระดับที่เหมาะสม  ให้ต่างชาติมาลงทุนหรือค้าขายในสินค้าที่เรายังทำไม่เป็น  หรือไม่เก่งพอ หรือที่เราขาดแคลน  จำเป็นต้องใช้ เพื่อทำให้เรามีโอกาสเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่  มีโอกาสลงทุนได้มากขึ้น  เร็วขึ้น  มีสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการศึกษาเพื่อประเมินผลดี ผลเสีย สำหรับคนส่วนใหญ่อย่างรอบคอบ
      โดยเฉพาะเมื่อ ข้อตกลงการเปิดเสรีทางการค้ากับบางประเทศให้ผลดีสำหรับคนบางกลุ่ม เช่น  นายทุนอุตสาหกรรม  รถยนต์  ธุรกิจโทรคมนาคม และให้ผลเสียสำหรับคนกลุ่มอื่น เช่น เกษตรกร จะต้องมีการชั่งน้ำหนักในระดับประเทศอย่างรอบคอบโดยคิดถึงผลประโยชน์ของคน ส่วนใหญ่เป็นหลัก สมมุติว่าชั่งน้ำหนักแล้ว ประเทศจะได้ประโยชน์มากกว่าก็จะต้องเพิ่มการเก็บภาษีจากธุรกิจที่ได้ ประโยชน์มาจุนเจือช่วยเหลือธุรกิจที่เสียประโยชน์
      ก่อนอื่น  ประเทศ ไทยจะต้องรู้จักตัวเองว่ามี จุดแข็ง จุดอ่อนอะไร รู้จักการต่อรองและเปิดให้มีการลงทุน และการค้าขายกับต่างชาติในขอบเขต และในลักษณะที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เป็นจริงของประเทศ และเป็นการเปิดรับการลงทุนและการค้าที่มุ่งให้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่มากกว่า เพื่อประโยชน์ของทุนต่างชาติ และทุนขนาดใหญ่ฝ่ายเดียว
      เวทีองค์การ ค้าโลกและเวทีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ  เป็นเรื่องของการผลักดันและการต่อรองกันอยู่ตลอดเวลา การที่รัฐบาลอ้างกับประชาชนว่า เราถูกเขาบีบบังคับให้เปิดเสรีเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ทุกประเทศเป็นเรื่องไม่จริง เพราะจริง ๆ แล้ว แต่ละประเทศก็ต่อรองเรื่องการเปิดเสรีทางการค้า (และการลงทุน)  อย่างมีขอบเขต มีจังหวะขั้นตอน รัฐบาลที่คำนึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ จะต้องรู้จักต่อรองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนในประเทศ มากกว่าจะ รีบร้อนเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนแบบเหมารวม ซึ่งอำนวยประโยชน์ต่อบริษัทยักษ์ใหญ่ทุนข้ามชาติและบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย มากกว่าประโยชน์ของประชาชนไทยส่วนใหญ่
การสร้างชุมชนและประเทศให้เข้มแข็ง
      แม้ว่าทิศทาง ใหญ่ของการพัฒนาเศรษฐกิจโลก คือ การเรียกร้องผลักดันให้ทุกประเทศต้องเปิดเสรีทางการค้า การลงทุนเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่ละประเทศก็ยังมีเวลา  มีจังหวะขั้นตอนที่จะต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนอยู่ไปได้อีกระยะหนึ่ง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอ้างได้ว่า การรีบเปิดประเทศเร็วเกินไปจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศตนซึ่งเสียเปรียบประเทศ ร่ำรวยอยู่แล้วต้องเสียเปรียบเพิ่มขึ้น
      ดังนั้นสิ่ง ที่จะต้องรีบทำ คือ เราจะต้องส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน เข้มแข็งพอที่จะแข่งขันรับมือกับการเปิดเสรีทางการลงทุนการค้าที่จะมาถึงใน อนาคต  ได้ดีกว่าการรีบเปิดเสรีในสภาพที่เรายังอ่อนแอและไม่พร้อม 
      ปัจจัยที่จะช่วยให้ชุมชน (ทั้งในชนบทและในเมือง) เข้มแข็ง
      1)  มีประชาชนที่มีความรู้และจิตสำนึกเพื่อสังคมส่วนรวม
           ความรู้ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากระบบโรงเรียนเท่านั้น หากเป็นความรู้จากครอบครัว, ชุมชนสื่อสารมวลชนและสภาพแวดล้อมทั่วไป ที่ประเทศควรส่งเสริมให้ประชาชนได้สนใจและมีโอกาสศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง ได้อย่างสะดวกโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำ โดยเฉพาะความรู้ในการที่จะพัฒนาตนเองและสังคมได้  ด้านหนึ่งควรวิจัย รื้อฟื้นและประยุกต์ใช้ใหม่ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย อีกด้านหนึ่งคือการวิจัยและเผยแพร่ความรู้สมัยใหม่จากประเทศต่าง ๆ อย่างวิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์  รู้จักการนำความรู้ที่เป็นสากลมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย ไม่ใช่การท่องจำ ลอกเลียนแบบตะวันตกมาทั้งคุ้น
               การจัดการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นความรู้ทางวิชาชีพ  เพื่อหางานที่จะได้ผลตอบแทนสูงสุด มีข้อจำกัดว่า ทำให้เกิดการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ดังนั้นถึงประเทศจะคัดได้คนเก่งคนฉลาดส่วนน้อย พวกเขาก็มีแนวโน้มจะเก่งแบบปัจเจกชน แต่ทำงานทีมเวริคทำงานร่วมกับคนอื่นไม่เก่งหรือคิดและทำเพื่อตัวเองมากกว่า เพื่อส่วนรวม เราควรจัดการศึกษาและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้ประชาชนมีความรู้แบบใช้งาน ได้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านอารมณ์ (EQ) และจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม คือฉลาดมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เข้าใจความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันช่วยเหลือ ผู้อื่น  ไม่เอาตัวรอดตามลำพังด้วย  จึงจะเป็นความรู้คู่กับจิตสำนึกที่ช่วยให้ชุมชนเข้มแข็งได้
      2)  ประชาชนมีปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดินและทุนทรัพย์ของตนเอง หรือสามารถ เช่า เช่าซื้อ ได้โดยใช้ต้นทุนไม่สูงเกินไป  ปัจจัยการผลิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพและพัฒนาตนเอง การกระจายปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินให้เป็นธรรมเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่จะ ช่วยให้การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เป็นจริงได้อย่างยั่งยืน
      การที่รัฐบาล ยังไม่ได้ปฏิรูปด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง ฯลฯ  และได้แต่ใช้วิธีกระจายการให้สินเชื่อไปสู่ชนบทไม่ใช่วิะการที่จะสร้างความ เข้มแข็งให้ชุมชนได้เป็นเพียงการกระจายรายได้ระยะสั้นและการสร้างหนี้เพิ่ม ขึ้นมากกว่า
      3)  ชุมชนมีทรัพยากร  โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค สาธารณสุขและการจัดตั้งองค์กรของชุมชน 
             ชุมชนที่ยังมีป่าไม้เหลือ  หรือมีแหล่งน้ำ มีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี มีความสามัคคี มีการรวมกลุ่มองค์กรช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจ  เช่น   กลุ่มเกษตรกร  กลุ่มออมทรัพย์สหกรณ์  ย่อมมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่า  หรืออีกนัยหนึ่งคือ  เข้มแข็งกว่าชุมชนที่ขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ เพราะการพึ่งพากันอย่างเสมอภาคและการร่วมมือกัน จะทำให้ปัจเจกชนทำงานได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นแนวนโยบายพัฒนาทุนนิยมอุตสาหกรรมแบบสุดโต่ง  อาจยิ่งเป็นการทำลายให้ชุมชนอ่อนแอลง
      4)  มีการกระจายทรัพย์สินและรายได้  การศึกษา  ฐานะทางสังคม  ในหมู่สมาชิกของชุมชนอย่างเป็นธรรม ไม่มีการผูกขาดใช้อำนาจบาตรใหญ่ การค้ากำไรเกินควร มีความเป็นเครือญาติ หรือความสามัคคี ช่วยเหลือกันค่อนข้างดี  เป็นประชาธิปไตย
      นี่คือสิ่งที่ ควรรักษาไว้หรือรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่  แต่ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบแสวงอำนาจ ผลประโยชน์จากส่วนกลางมักเข้าไปทำลายมากกว่าจะสนับสนุนจึงควรปรับแนวคิดใน เรื่องนี้เสียใหม่
      5)  เป็นชุมชนที่สมาชิกมีความตื่นตัวเป็นพลเมืองดี  ดูแลช่วยเหลือกันไม่ให้คนในชุมชนติดยาเสพย์ติด  เหล้า การพนัน อบายมุขต่าง ๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นช่องทางที่จะทำให้ชีวิตคนตกต่ำลง และชุมชนอ่อนแอ
      ชุมชนเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมได้  ซึ่งต่างจากวิธีคิดของรัฐบาลที่เน้นแต่เรื่องกฎหมาย การเพิ่มตำรวจ การแก้ปัญหาแบบราชการรวมศูนย์สั่งการจากบนลงล่าง
     การรื้อฟื้นและพัฒนาภูมิปัญญาดั้งเดิมเพื่อสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง
           ภูมิปัญญา  (Wisdom) หมายถึง ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ  ความจัดเจน  ของแต่ละกลุ่มชนทางวัฒนธรรมที่ได้จากการเรียนรู้การปรับตัว  และการมีประสบการณ์  ในการดำรงชีพ  และพัฒนาตนเองและสังคม  จะเรียกว่า  ความรู้แบบองค์รวมในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมก็ได้
     ปัจจุบันเรา กล่าวถึงใช้ “ภูมิปัญญาไทย” ในฐานะที่เป็นการพัฒนาทางเลือกที่ต่างไปจากแนวทางการพัฒนาแบบทุนนิยม อุตสาหกรรมตะวันตกมากขึ้น แต่คำว่า “ภูมิปัญญาไทย” ในที่นี้  ควรมองในแง่เป็นลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมของคนไทยจากอดีตถึงปัจจุบันที่มีการ ผสมผสานจากกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมต่าง ๆ หลากหลาย  ไม่ควรมองอย่างแคบ ๆ เรื่องชาติพันธุ์  หรือวัฒนธรรมแบบบริสุทธิ์  ซึ่งไม่ได้มีอยู่จริง  และการมองแบบแคบ ๆ อาจทำให้เกิดอคติ,  ความหลงชาติได้ ดังนั้นถ้าจะเรียนกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น แทนภูมิปัญญาไทยก็น่าจะได้ 
     การจะพัฒนา ภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในยุคปัจจุบัน น่าจะอยู่ที่การรู้จักประยุกต์ใช้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาของที่อื่น ๆ รวมทั้งวิทยาการตะวันตก (ที่กลั่นกรองแล้ว) ให้เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน
     การรื้อฟื้นและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในยุคปัจจุบัน 
      มีประเด็นที่เราน่าจะเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างน้อย 3 ประเด็นคือ
           1.  ความรู้ความสามารถในการดำรงชีพและพัฒนาอารยธรรมของชาวไทยตั้งแต่พันปีที่แล้ว ใน ยุคก่อนที่เราจะรับเศรษฐศาสตร์และวัฒนธรรมทุนนิยมตะวันตก มาเป็นตัวกำหนดค่านิยมและทิศทางการพัฒนาสังคมไทยในปัจจุบัน  คนไทยมีภูมิปัญญาในการรู้จักการทำมาหากินแบบเกษตรเพื่อยัง ชีพอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น รู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน  มีพันธ์พืชหลากหลายชนิดที่เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นและความหลากหลายช่วย ป้องกันโรคระบาด  มีระบบชลประทานท้องถิ่น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสมุนไพรปราบศัตรูพืช ฯลฯ
           คนในสมัย ก่อนปลูกพืช เลี้ยงปลาไก่ ฯลฯ หลากชนิด ซึ่งนอกจากจะใช้ประโยชน์ได้หลายทางแบบเกื้อกูลกันแล้ว ในแง่ของการผลิตไม่เสี่ยงมาก เมื่อพืชผลชนิดใดชนิดหนึ่งเสียหายก็ยังมีพืชชนิดอื่น ๆ ได้กินอยู่  โรคภัยก็น้อยด้วย  นี่คือ  ภูมิปัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือพึ่งตนเองได้เป็นหลัก  สิ่งใดที่ขาดแคลนก็เอาของที่มีเหลือเฟือไปแลกเปลี่ยนกันกับคนอื่นหรือหมู่ บ้านอื่น  ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ใช้สอยมากกว่าการค้าเพื่อหวังกำไรอย่าง ในยุคการพัฒนาแบบทุนนิยม การผลิตแบบเกษตรพึ่งตนเองนี้ทำเพื่อพอกินมากกว่าเพื่อหวังขายให้ร่ำรวย จึงไม่ได้ทำลายธรรมชาติ  หรือ กดขี่แรงงานคนมากเท่ากับการผลิตยุคทุนนิยมที่เน้นการผลิตเพื่อขายหากำไร
      2. คนไทยสมัยก่อนเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้ามา ไม่ได้ยึดความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ส่วนตัวอย่างเคร่งครัด แต่มองเรื่องการแบ่งปัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การใจกว้าง  ความยุติธรรมเป็นเรื่องสำคัญ  ดังจะเห็นได้ว่า การแลกเปลี่ยนในชนบทสมัยก่อนนั้น เป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ใช้สอยแบบฉันท์เพื่อน  ฉันท์ญาติ คือ แลกกันง่าย ๆ ให้พอสมน้ำสมเนื้อ ไม่ได้คิดเล็กคิดน้อยอย่างละเอียดลออแบบมุ่งหากำไรกันทุกบาททุกสตางค์  คนไทยสมัยก่อนนิยมการแลกสินค้าต่อสินค้าโดยไม่ต้องใช้เงินเป็นสื่อกลางด้วย ซ้ำ  การช่วยเหลือเอาแรงกัน ก็เป็นแบบง่าย ๆ การให้ความช่วยเหลือคนจนกว่า ขาดแคลนกว่า เป็นเรื่องของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่ทำกันเป็นปกติ เพราะคนส่วนใหญ่อยู่ในสังคมหมู่บ้านที่คนเป็นเครือญาติและเพื่อนฝูง มีความเป็นกันเองและปฏิบัติต่อกันแบบมีน้ำจิตน้ำใจ ถ้ามองในแง่ของการพัฒนาทางสังคม  ก็ถือได้ว่า คนสมัยก่อนมีการพัฒนาทางสังคมที่มีคุณภาพมากกว่าคนยุคปัจจุบัน
           3. คนไทยสมัยก่อนการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมตะวันตก รู้จักใช้เทคโนโลยีการผลิตและการบริโภคแบบเรียบง่าย แต่มีปัญญา  เน้นความกลมกลืน ความสมดุลของธรรมชาติ  คนสมัยก่อนโดยเฉพาะระดับหมู่บ้านยังมองว่า  ชีวิตเป็นองค์รวมของการทำมาหากิน และการชื่นชมกับชีวิต  การดูแลครอบครัว เครือญาติ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน การทำบุญสุนทาน  การหาความสนุกจากการละเล่นและศิลปวัฒนธรรม  คนไทยสมัยก่อนไม่ได้มองเรื่องการทำมาหากิน  หรือเศรษฐกิจแบบแยกส่วน  ไม่ได้มีค่านิยม เน้นการแข่งขันกันหาเงิน การแสวงหาบริโภคสูงสุดแบบตัวใครตัวมันเหมือนคนในยุคทุนนิยมอุตสาหกรรม  แต่มองเศรษฐกิจเพียงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่มีหลายด้าน คือ มีด้านทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย
           คนไทย สมัยก่อนดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ สัตว์ใหญ่ รักษาน้ำได้ดี พวกเขาเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ  จึงสร้างให้เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์  มีข้อห้าม ขนบธรรมเนียมพิธีเกี่ยวข้องกับธรรมชาติมาก  หากมองแนววิทยาศาสตร์แบบทื่อ ๆ ก็อาจคิดว่าคนไทยสมัยก่อนล้าสมัย เชื่ออะไรงมงาย  แต่ถ้าเรามองในแง่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาอย่างใจกว้าง เราจะเห็นได้ว่าคนสมัยก่อนอยู่กับธรรมชาติและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้ดี กว่าคนในยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ความโลภบดบังตา คือพวกเขารู้จักพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable)  ในสมัยที่ยังไม่ได้มีการใช้ศัพท์คำนี้กัน
      ถึงคนปัจจุบัน จะมีความรู้สมัยใหม่เกี่ยวกับเรื่องการไม่ควรทำลายธรรมชาติ  แต่บ่อยครั้งที่ความโลภ  ความต้องการหาเงินทอง  การบริโภคสูงสุดบดบังตา  ทำให้พวกเขาไม่ได้สนใจ ไม่ได้เอาใจใส่เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติเหมือนคนสมัยก่อน ซึ่งเขาเอาใจใส่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ช่วยให้สังคมอยู่รอดมาได้ตลอด  ขณะที่ความรู้ใหม่ ๆ แบบตะวันตกที่คนไทยปัจจุบันพยายามเรียนรู้  กลายเป็นเพียงเครื่องมือให้คนกลุ่มน้อยที่ร่ำรวยใช้เอาเปรียบคนส่วนใหญ่และ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า
      การรื้อฟื้นและประยุกต์ใช้ในสังคมสมัยใหม่
           เราน่าจะกลับไปศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม เช่น เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจแบบชาวพุทธ  ที่เน้นการบริโภคพอประมาณ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  เกษตรและสาธารณสุขทางเลือก เช่น การทำเกษตรแบบอินทรีย์ การบริโภคอาหารพื้นบ้าน และสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ การใช้พลังงานทางเลือก ฯลฯ และนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมยุคใหม่ของไทยอย่างจริงจัง เพราะน่าจะเป็นทางเลือกของการพัฒนาที่ดีกว่าทุนนิยมอุตสาหกรรมเพื่อการบริ โภค พึ่งการค้าการลงทุนจากต่างชาติเป็นสัดส่วนสูง แนวทางพัฒนาแบบสร้างปัญหาทางการเมืองสังคม และการเป็นหนี้มากเกินไป สร้างความไม่สมดุลและความขัดแย้งระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้น การแก่งแย่งแข่งขันชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบ ทุจริตฉ้อฉล ยาบ้าระบาด ฯลฯ
      การรื้อฟื้น และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องมองอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เลือกส่วนที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยสมัยใหม่ที่เรามีประชากรมากขึ้น มีทรัพยากรลดลง  และรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับความรู้ที่เป็นสากลใน โลกปัจจุบัน การกล่าวถึงภูมิปัญญาไทยแบบหวนหาอดีตอาจไม่สอดคล้องกับความจริง เพราะประชากรเพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อ 50 – 100 ปี ที่แล้วมาก ทรัพยากร เช่น ป่าไม้ลดลงไปมาก และคนยุคปัจจุบันต้องเรียนรู้และใช้ชีวิตสัมพันธ์กับคนต่างชาติต่างวัฒนธรรม มากกว่าก่อน แต่ก็อยู่ในวิสัยที่จะรู้จักเลือกและพัฒนาภูมิปัญญาและจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ในการจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในประเทศไทยยุคใหม่ อย่างมุ่งให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ เป็นธรรม  และอย่างยั่งยืนคู่ขนานกันไป ได้
      ปัญหาคือ ทางการกล่าวถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น  เช่น เศรษฐกิจพอเพียง สาธารณสุขทางเลือก เกษตรทางเลือก เหมือนเป็นเพียงส่วนย่อย ๆ เป็นโครงการย่อย ๆ แต่แนวนโยบายใหญ่ในการพัฒนาประเทศทั้งประเทศยังคงเน้นเรื่องการพัฒนา อุตสาหกรรมแบบมุ่งทำลายทรัพยากรเพื่อกอบโกยผลกำไรของภาคเอกชนเป็นด้านหลัก
      การจะสร้างชุมชนให้เข้มแข็งได้ต้องปฏิรูปทางโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของประเทศด้วย
      เนื่องจากคนใน ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ การเมืองของประเทศต้องสัมพันธ์กับระบบการเมืองที่ภาครัฐมีอำนาจบทบาทสูง  สัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดและระบบการศึกษา สื่อสารมวลชน และสภาพแวดล้อมทางสังคมอื่น  ที่มีบทบาทต่อสมาชิกในชุมชนสูง และหลายเรื่องเป็นสิ่งที่ขัดแย้งและหรือบั่นทอนความเข้มแข็งของชุมชน
      ดังนั้นการจะ พัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างแท้จริง จึงจะต้องคิดไกลถึงการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมด้วย จึงจะสามารถจัดให้มีกระจายสิทธิอำนาจทางการเมืองและสังคม  สู่ประชาชนส่วนใหญ่ได้ การจะทำเช่นนั้นข้อสำคัญคือ ต้องหาวิธีการทำให้ภาครัฐคือนักการเมืองและราชการเล็กลง  ภาคสังคมประชาคือองค์กรประชาชนต่าง ๆ เข้ม แข็งขึ้น ทำให้กระบวนการติดสินใจทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วมมาก ขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเกิดการพัฒนาที่สมดุล การแข่งขันที่เป็นธรรม ทำให้สังคมเกิดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมได้ อย่างมีประสิทธิภาพ  และสันติวิธี  เพิ่มขึ้น  
      นั่นก็คือการ หายุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน  ไม่ใช่เน้นแต่การพัฒนาทางวัตถุแบบทุนนิยมผูกขาดที่ถึงจะสร้างความเจริญเติบ โตทางเศรษฐกิจโดยรวมได้แค่ไหน ก็จะเป็นเพียงการพัฒนาที่อยู่แต่ในกรอบของคนรวยส่วนน้อยได้เปรียบคนจนส่วน ใหญ่
      มาตรการในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสร้างชุมชนและประเทศให้เข้มแข็งควรประกอบไปด้วย
      1) ปฏิรูปเศรษฐกิจ การบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อสร้างความเป็นธรรม ประสิทธิภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
      ระดมกำลังของ ทั้งทางภาครัฐ  องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน เช่น  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  รัฐสภา ภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน  สมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างวิพากษ์วิจารณ์และ สร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ภาพองค์รวมของระบบทั้งหมด และจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมที่ถือเป็นวาระแห่งชาติ เช่น
      ปฏิรูประบบการคลัง การเก็บภาษี และจัดสรรงบประมาณ เพื่อหารายได้จากคนรวยมากระจายช่วยพัฒนาคนจน
      ปฏิรูประบบธนาคารสถาบันการเงินและสหกรณ์ ให้จัดสรรสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยเป็นสัด ส่วนสูงขึ้น ลดความต่างกันระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง ส่งเสริมการออมและการให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่
      ปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเกษตร  ปฏิรูปอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดย่อม ปฏิรูปการศึกษาและการฝึกฝนอบรม แก้ปัญหาให้คนว่างงานและคนจน ให้มีทักษะ ทุน และช่องทางที่จะมีงานทำ  หรือพัฒนาอาชีพของตนให้ดีขึ้น
      2) ปฏิรูปการเมือง และปฏิรูประบบราชการ แบบลดขนาดและลดอำนาจนักการเมือง และราชการลง  กระจายอำนาจบริหารสู่องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน และองค์กรบริหารท้องถิ่นที่ต้องส่งเสริมพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีความรู้ความ สามารถในการบริหารจัดการและซื่อตรงมากขึ้น  ปฏิรูปการคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระองค์กรมหาชนให้มีความโปร่งใส และคัดเลือกคนที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น   สนับสนุนให้องค์กรประชาชนเข้มแข็ง และตรวจสอบภาครัฐได้เพิ่มมากขึ้น    
      ผ่าตัดการ บริหารจัดการบุคคล และการจัดสรรงบประมาณในระบบราชการใหม่  โดยเฉพาะหน่วยงานด้านบริการและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม ขึ้น  แก้ไขระเบียบบริหารราชการให้สามารถมีการสับเปลี่ยนโยกย้าย ให้รางวัลและลงโทษข้าราชการได้คล่องตัวแบบการบริหารภาคเอกชน ตรวจสอบประเมินคุณภาพการทำงานของทุกหน่วยงานใหม่หมด โยกย้ายคนที่ไม่ค่อยมีงานให้ไปทำงานอื่นที่ต้องการคนมากกว่าหรือเป็น ประโยชน์มากกว่า ปลดคนทำผิด  คนด้อยประสิทธิภาพออกไป  หรือให้เกษียณก่อนกำหนด  ไม่ใช่เพียงแค่การย้ายข้าราชการผู้มีปัญหาให้ไปเป็นปัญหาหรือภาระกับหน่วย งานอื่น
      รณรงค์เพิ่ม ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ความเป็นธรรม ในการบริหารจัดการทั้งภาครัฐวิสาหกิจและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภาครัฐ   หากจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เอกชนเข้ามาถือหุ้นเป็นสัดส่วนสูงขึ้นเพื่อปรับ ปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ควรเน้นการขายหุ้นให้พนักงาน ประชาชน องค์กรประชาชน และธุรกิจเอกชนในประเทศ ไม่จำเป็นต้องขายให้นักลงทุนต่างประเทศ เพราะทุนในประเทศไทยก็มีมากพอ  ปรกติถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีการดำเนินงานดีมีผลกำไร ก็จะมีคนในประเทศไปเข้าคิวจองซื้อมากกว่าจำนวนที่เสนอขายอยู่แล้ว
      สนับสนุนผลัก ดันให้การทำงานของสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ปปช.)  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และองค์กรอิสระอื่น ๆ เพิ่มการตรวจสอบและรณรงค์ลดการคอรัปชั่น การเล่นพรรคเล่นพวก การใช้อภิสิทธิ์ และการใช้อำนาจไม่เป็นธรรม อย่างเป็นหลักการทั่วไป  ที่ใช้กับทุกฝ่ายอย่างยุติธรรม และเพื่อแก้ปัญหา หรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกทั้งระบบ  ไม่ใช่การเลือกแก้ปัญหาเฉพาะส่วน เฉพาะบุคคลอย่างที่ทำกันอยู่
      3) ปฏิรูปการศึกษา  การวิจัยและการพัฒนา การสื่อสารมวลชนห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ   การบริหารจัดการองค์กรคณะสงฆ์  และมูลนิธิสาธารณกุศลต่าง ๆ เพื่อ กระจายโอกาสการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสู่ประชาชนส่วนใหญ่ ส่งเสริมให้คนรู้จักการทำงานของสมอง และใช้สมองอย่างมีประสิทธิภาพ รักการเรียนรู้  และมีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาจิตสำนึกทางสังคมเพิ่มขึ้น  ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนให้นักเรียนหัดคิดวิเคราะห์  ปฏิบัติ ทำงานรวมกลุ่มมากขึ้น
      ปฏิรูปการเป็น เจ้าของและผู้ควบคุมให้สถาบันการศึกษา องค์กรทางศาสนา  มูลนิธิสาธารณกุศล และสื่อมวลชนเป็นของประชาชน  และควบคุมดูแลโดยประชาชนและชุมชนมากขึ้น  รณรงค์เปลี่ยนวิถีชีวิตและค่านิยมใหม่ที่มุ่งแนวทางแข่งขันกับตนเองและร่วม มือกับคนอื่น เพื่อพัฒนาความอยู่เย็นเป็นสุขหรือคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ แทนวิถีชีวิตและค่านิยมเก่าที่เน้นการแข่งขันกันแสวงหาเงิน  กำไรส่วนเอกชนและการบริโภคมากเกินไป
      ส่งเสริม กิจกรรมที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ด้านศาสนาจริยธรรมและจิตสำนึกที่จะช่วย ทำให้ประชาชนเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันช่วยแก้ปัญหาของทั้ง สังคมอย่างคนที่มีวุฒิภาวะ สามารถตัดสินปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ ด้วยสติปัญญาและสันติวิธี ทำงานสร้างสรรค์เพื่อส่วนรวม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม   เปลี่ยนแปลงค่านิยมแบบเห็นเงินเป็นพระเจ้าและนิยมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย  หันมายกย่องค่านิยมที่ซื่อสัตย์สุจริต   การใช้ชีวิตประหยัด เรียบง่าย เอื้ออาทรต่อกันและกัน มีจิตสำนึกเห็นแก่ประชาคม และลูกหลานในระยะยาว
      4. ใช้มาตรการทั้งทางภาษี การจัดสรรงบประมาณ และการรณรงค์ทางสังคม  ให้ประชาชนสนใจและมีโอกาสที่จะเรียนรู้และคิด ค้นคว้าวิจัย พลังงานทางเลือก เกษตรทางเลือก เทคโนโลยีทางเลือก ฯลฯ ประหยัดการใช้พลังงานและลดการบริโภคสินค้าที่ไม่จำเป็นลง 
      รณรงค์ให้ ประชาชนเกิดความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ประหยัดลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น เช่น ลดการใช้พลังงานจากน้ำมัน  ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อมและสิ้นเปลืองเงินต่างประเทศ มาใช้พลังงานทางเลือก  เช่น  น้ำมันไบโอดีเซล พลังไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์  พลังความร้อนใต้โลก  พลังลม  แกสชีวภาพ ฯลฯ มากขึ้น ลดการใช้รถส่วนตัวลง ใช้รถสาธารณะ  จักรยาน ฯลฯ มากขึ้น
      การจะประหยัด พลังงานของประเทศต้องใช้มาตรการทางภาษี และการรณรงค์ควบคู่กันไป การรณรงค์แบบขอร้องหรือขอความร่วมมืออย่างเดียวไม่ค่อยได้ผล เช่น ถ้าจะให้คนลดการใช้รถส่วนตัวโดยเฉพาะคันใหญ่ ๆ ลงก็ต้องเก็บภาษีค่าธรรมเนียมให้สูงขึ้น, เก็บค่าธรรมเนียมการขับรถเข้ามาในตัวเมืองชั้นใน, เก็บค่าที่จอดรถให้สูงขึ้นเป็นต้น 
      5) ปฏิรูประบบกฎหมาย  ตำรวจ อัยการ  ผู้พิพากษา  ราชทัณฑ์  การประชาสงเคราะห์ การพัฒนาสุขภาพจิต การพัฒนาความอบอุ่นในสถาบันครอบครัว อย่างเชื่อมโยงกันเป็นระบบองค์รวม  ไม่ใช่ต่างหน่วยงานต่างทำงานตามหน้าที่ไปวัน ๆ โดยควรเน้นการส่งเสริมให้คนทำความดี  ทำสิ่งที่ถูกต้อง ทำกฎหมายให้ประชาชนเข้าใจง่าย  มีเหตุผล  มีความโปร่งใส มากกว่าการจัดระเบียบสังคมแบบเพิ่มความเข้มงวดให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในการ ลงโทษได้มากขึ้น  ซึ่งมักจะทำให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด  เกิดการทุจริต ฉ้อฉลเพิ่มขึ้น
      การปฏิรูปทาง ด้านกฎหมาย การลงโทษ  และการประชาสงเคราะห์  ควรมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์คือ  ช่วยให้คนทำดีมากกว่าพึ่งแต่ตัวกฎเกณฑ์ต่าง ๆ นั่นก็คือ ต้องคัดเลือกคนที่มีคุณภาพและบริการงานด้านนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม  ความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ทันสมัยต่อสภาพการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  และเปิดให้องค์กรประชาชนมีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น
      6) ระดมกำลังความคิด  ทรัพยากร  บุคคล ทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมที่ร้ายแรง เช่น การแพร่ระบาดของยาเสพติด และปัญหาการกดขี่เอารัดเอาเปรียบผู้หญิง  เด็กและเยาวชน ให้ได้ผลอย่างถึงรากเหง้า 
      ปัญหายาเสพติด เป็นเรื่องวิกฤติเร่งด่วน  ที่ต้องแก้ไขในหลาย ๆ ด้านพร้อมกันไปอย่างเชื่อมโยง  และต้องลงมือผ่าตัดปราบปรามการทุจริตฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่ในเรื่องนี้อย่าง เด็ดขาด ไม่มีการลูบหน้าปะจมูก ผ่อนปรนให้กับผู้ที่มีอำนาจหนุนหลัง 
      ปัญหาทางสังคม ที่ร้ายแรง เช่น ยาเสพติดนั้น เป็นปัญหาที่เกิดจากหลายสาเหตุ หรือ สภาพแวดล้อมทั้งหมดแนวทางแก้ไข ต้องแก้ไขทั้งปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง  สังคมวัฒนธรรม ควบคู่กันไป กับการปราบปรามการค้ายาเสพติด เช่น  ต้องสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว  โรงเรียนและวัด  ช่วยให้เด็กเยาวชนมีโอกาสได้เรียนทำงาน  มีที่เล่นกีฬา ดนตรี ทำงานศิลปะ  และกิจกรรมสร้างอื่น ๆ ต้องส่งเสริมให้การศึกษาให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง  เข้าใจจิตวิทยาในการดูแลเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น  ขยายบทบาท หรือจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือบำบัดผู้ติดยาเสพยติด ที่มีเจ้าหน้าที่เข้าใจปัญหาและช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างได้ผลเพิ่มมากขึ้น ฯลฯ
      ปัญหาการกดขี่ ข่มเหงแรงงานเด็กและเยาวชน โสเภณีเด็กและเยาวชนก็เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมอย่างซับซ้อนเช่นกัน ต้องแก้ไขในหลายด้าน พร้อมกันอย่างครบวงจร ไม่ใช่แก้ไขตามการแบ่งงานของส่วนราชการแบบต่างคนต่างทำหน้าที่เฉพาะด้าน รวมทั้งต้องหาวิธีป้องกันและส่งเสริมด้านบวก เช่น ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของเด็กและสตรีเพิ่มขึ้น ทำให้เด็กและเยาวชนสตรีมีความรู้ มีภูมิต้านทานและความเข้มแข็งที่จะต่อสู้การเอารัดเอาเปรียบพวกตนได้เพิ่ม ขึ้น 
      7) ปฏิรูประบบสาธารณสุข สวัสดิการสังคม  และการพัฒนาสังคมในด้านเกี่ยวกับสุขภาพกาย  และสุขภาพจิต  รวมทั้งการพัฒนาสถาบันครอบครัว สถาบันองค์กรประชาชน ให้มีความเข้มแข็ง เน้น การป้องกันและการวางแผนดำเนินงานเพื่อระบบสาธารณสุขที่ดีอย่างต่อเนื่อง รณรงค์ลดการใช้ยาสมัยใหม่ที่ปัจจุบันคนไทยใช้กันมากเกินไป ลดการติดบุหรี่  เหล้า ยาเสพย์ติดต่าง ๆ ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสมุนไพรที่ผลิตได้ใน ประเทศ  และการออกกำลังกาย รณรงค์ลดปัญหาอุบัติเหตุจากการเดินทาง    การเจ็บป่วยจากทำงาน และปัญหามลภาวะ
      เน้นการให้ ความรู้ความเข้าใจประชาชนให้รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งในทางร่างกายและจิตใจ เสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชาชนในสังคมมากกว่าการตามรักษา  ตามแก้ปัญหาเฉพาะทางไปวัน ๆ ซึ่งมักจะแก้ได้เพียงบางส่วน สิ้นเปลือง  หรือก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา
      ปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม ซึ่งรวมทั้งการให้บริการทางสังคม ประกันสังคมและการสงเคราะห์ให้ครอบคลุมประชาชนส่วนใหญ่ แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมทางสังคม เช่น ยาเสพย์ติด โสเภณี การขูดรีดแรงงานเด็ก อาชญากรรม การทุจริตฉ้อฉลข่มขู่รีดไถ ฯลฯ อย่างเข้มข้น  ทุ่มเทเอาจริงเอาจัง  มุ่งแก้ที่ต้นตอของปัญหา และอย่างครอบคลุมถึงระบบโครงสร้างของสังคมทั้งหมด ไม่ใช่การใช้วิธีแบบราชการที่ฝ่ายบริหารเพียงแต่สั่งให้หน่วยงานนั้นหน่วย งานนี้แก้ปัญหาตามหน้าที่ไปวัน ๆ ซึ่งมักไม่ได้ผล หรือแก้ได้เฉพาะส่วน แต่ไม่ได้แก้ปัญหาอื่น ๆ อย่างเชื่อมโยงกันเป็นระบบครบวงจร
      ปฏิรูปองค์กร รัฐที่ทำงานด้านการพัฒนาสังคม ประกันสังคม สวัสดิภาพสังคม ให้ทำงานอย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพแบบองค์กรพัฒนาเอกชน  รวมทั้งรัฐควรให้งบฯสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการดูแลเด็ก เยาวชน  สตรี  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาสหรือเสียเปรียบในด้านต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ขยายงานได้และช่วยลดภาระที่หน่วยงานรัฐที่มีขีดความ สามารถจำกัด  และทำให้มีการให้บริการทางสังคมที่หลากหลาย และแข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์  ทำให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้

                  ค่านิยมสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน 

ค่านิยมที่สำคัญของสังคมไทย ๑. การเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ๒. การนับถือและให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ๓. การเคารพผู้มีอาวุโส ๔. ความซื่อสัตย์สุจริต
ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย ค่านิยมพื้นฐาน ๕ ประการ โดนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีดังนี้ ๑. การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบ ๒. การประหยัด และออม ๓. การมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย ๔. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา ๕. ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  

  • ค่านิยมของสังคมไทยในอดีต


ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในอดีต วิถีชีวิตของสังคมไทยในอดีต ส่วนใหญ่ยึดมั่นสืบทอดตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสุขสบาย ไม่อยากให้ใครได้รับความเดือดร้อน วิถีชีวิตเป็นแบบเรียบง่ายไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะมีระบบข้ากับเจ้า บ่าวกับนายก็ตาม ค่านิยมของสังคมไทยในอดีตมีลักษณะดังนี้
๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา คนไทยในอดีตส่วนใหญ่ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุธศาสนา เพราะเมื่อทำแล้วเกิดความสบายใจ มีความสุขจากการทำบุญ ทำให้คนมีจิตดี มีความอ่อนโยน มีเมตตา กรุณา การประพฤติตามหลักธรรมคำสอนทำให้คนเป็นคนดี อีกทั้งยังเป็นการสืบทดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวอีกด้วย
๒. เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นแนวทางให้สังคมไทยในอดีตเกิดความกลัว ละอายต่อการทำบาป เพราะเมื่อตายแล้วต้องตกนรก ทำให้เกิดการทำบุญหรือทำความดี เพื่อหนทางสู่สวรรค์นั่นเอง
๓. เชื่อในเรื่องของวิญญาณ ภูตผีปีศาจ มีความเชื่อในเรื่องอำนาจลึกลับที่มีอยู่เหนือมนุษย์ สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งดีหรือสิ่งร้าย ด้วยเหตุนี้จึงมีพิธีกรรมเกิดขึ้นมากมายซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เช่น เชื่อในเรื่องเจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น
๔. ยกย่องระบบศักดินา เป็นความเชื่อที่ว่าเป็นผู้มีบารมี ความร่ำรวย บุคคลในตระกูลสูศักดิ์ คือ ผู้ที่เทพเจ้าบันดาลให้มาเกิดจึงได้รับการยกย่องและเกรงกลัว
๕. เคารพผู้อาวุโส อาจหมายถึงผู้ที่สูงด้วยอายุ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความเชื่อว่าผู้อาวุโสมีประสบการณ์ มีความสามารถ เช่นสำนวนที่ว่า “ ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน ” การเคารพผู้อาวุโสจะทำให้มีความสุขและเจริญก้าวหน้า


๖. มีชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ เพราะการประกอบอาชีพจะอาศัยแม่น้ำ ลำคลอง หรือจากน้ำฝน มีการหาของป่า ถ้าปีใดเกิดการแห้งแล้งจะเป็นปัญหาทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะยังไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยีสมัยใหม่
๗. เชื่อถือเรื่องโชคลาง เมื่อชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ จึงเชื่อว่าสิ่งลึกลับจะช่วยให้เกิดสิ่งดีหรือสิ่งร้ายได้ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมาก เช่น เสียงทักของจิ้งจก ตุ๊กแก ขณะออกจากบ้าน เมื่อได้ยินเสียงก็ให้เลิกล้มความตั้งใจเสีย หรือเลื่อนเวลาเดินทางออกไป
๘. ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม แสดงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือ ทำให้ชีวิตไม่เหงา รู้สึกตนเองยังมีคุณค่าในสังคม
๙. ยึดมั่นในจารีตประเพณี คนส่วนใหญ่ต่างยอมรับกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม และต้องรักษาแบบแผนไว้สืบต่อไป การไม่ปฏิบัติตามย่อมจะถูกตำหนิและเป็นที่รังเกียจของสมาชิกในสังคม
๑o. นิยมการมีอำนาจและบารมี เนื่องจากสภาพในสังคมในอดีตเป็นระบบศักดินา จึงทำให้กลุ่มผู้มีอำนาจพยายามสร้างซึ่งเป็นการส่งผลให้เกิดบารมีให้เกิด ขึ้นกับตนเอง นำไปสู่การเป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง มีเมตตาต่อผู้ยากไร้ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์
๑๑. ชอบพึ่งพาอาศัยกันและกัน สังคมไทยในอดีตมีความเข้าใจไว้วางใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือแม้แต่งานที่ต้อง ใช้เวลาจำกัด เช่น การทำนา ทำไร่ หรือจัดงานบุญที่บ้านหรือวัด ก็นิยมช่วยเหลือกันเรียกประเพณีนิยมนี้ว่า “ การลงแขก ” เป็นต้น
๑๒. พึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นการใช้ชีวิตแบบสันโดษ เพื่อสองคล้องกับหลักธรรม เป็นกลุ่มอนุรักนิยมมากกว่าการแสวงหาความก้าวหน้า ต้องการความสบายใจ การทำงานจะไม่เป็นระบบ ไม่มีการวางแผนชีวิตใน ระยะยาว  
  • ค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน


ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ มีทุนให้ครู-อาจารย์ ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลไป ตามสภาพของสังคมด้วยดังนี้
๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
๒. เคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างกับสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจพระองค์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคนไทย เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
๓. เชื่อในเรื่องเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต ในสภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ปัจจุบันสังคมไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้งครองเจ้าของความคิด ไม่ให้ใครลอกเลียนแบบได้ เรียกว่า “ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ” เป็นต้น
๔. ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ปัจจุบันสังคมไทยต้องแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความ สามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
๕. นิยมความร่ำรวยและมีเกียรติ สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญเรืองความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคน ได้


๖. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้
๗. ชอบแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อนไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องทำการแย่งชิงแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
๘. นิยมการบริโภค นิยมบริโภคของแพง เลียบแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่การมีหนี้สินมากขึ้น
๙. ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการพักผ่อนให้ชัดเจน
๑o. ชอบอิสระไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจของใคร ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
๑๑. ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชายเท่าเทียมกัน หญิงไทยในปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานไดเช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช่ช้างเท้าหลังอีกต่อไป
๑๒. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ซึ่งเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
๑๓. นิยมภาษาต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยากต่อการศึกษาและนำไปใช้

การเจรจาต่อรองเพื่อลดปัญหาหรือคลายปมขัดแย้ง

ความ ขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกชีวิตในองค์กร คำถามว่า ทำไมก็เพราะสมาชิกในองค์การมีเป้าหมายหรือความต้องการต่างกัน องค์การมีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด เป็นแรงผลักดันให้ทุกคนต้องใช้วิธีการทางการเมืองในองค์การทำให้เกิดความขัด แย้ง
       นอกเหนือจากนั้น ในการบริหารสมัยใหม่ย่อมเพิ่มความขัดแย้งให้เกิดขึ้นเพราะมีการพึ่งพาอาศัย กัน การประสานงานมีการแข่งขันกันภายในกลุ่มหรือต่างกลุ่มในสถานการณ์ต่างๆ ตัวอย่างในองค์การแบบเมตริกส์ คนหนึ่งทำงานหลายหน้าที่ การทำงานเป็นทีม มีการตัดสินใจร่วมกัน ระบบการจ่ายเงินเดือนสองรอบ การกำหนดโครงสร้างองค์การใหม่ การตัดราคาขายซึ่งกันและกัน การเพิ่มความมีประสิทธิภาพไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่ Tjosvold และ Johnson (1983,p10) ได้กล่าวว่าทักษะการบริหารที่สำคัญในการบริหารเพื่อประสิทธิผลขององค์การคือ การบริหารในเชิงสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
         เพราะว่าความขัดแย้งเป็นธรรมชาติขององค์การ ไม่สามารถที่จะขจัดให้หมดไปได้ แน่นอนไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งเลวร้ายเสมอไปความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ดี ความขัดแย้งทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์์ ทำให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง(Robbins,1978) ข้าพเจ้าจะกำหนดการอภิปรายในบทนี้ในเรื่องทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งเท่านั้น
         การแก้ปัญหาความขัดแย้งและทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
         ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งจุดเน้นในการแก้ ปัญหาความขัดแย้งให้เน้นที่เป้าหมาย การฟัง การให้ข้อมูลย้อนกลับและทักษะการพูดชักชวน
          การกำหนดเป้าหมายเป็นการชี้นำ และจูงใจผู้ร่วมงาน มีมาตรฐานการทำงานกำหนดไว้เพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน การป้องกันความขัดแย้ง การลดความสนับสนุน คลุมเครือ และขจัดผลประโยชน์ส่วนบุคคลเพื่อเป้าหมายใหญ่ขององค์การ การตั้งเป้าหมายก็เป็นการชี้เฉพาะไปที่มาตรฐานการปฏิบัติงาน
          สิ่งเหล่านี้ในทางกลับกันถ้าสนองตอบผลประโยชน์ส่วนตนปัญหาความขัดแย้งก็จะมี มากขึ้น เหมือนกับพฤติกรรมการเมืองย่อมมีความขัดแย้งมากขึ้น บรรยากาศก็อืมครืม การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนจะช่วยลดปัญหา และสามารถใช้ทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้
            การฟังและการให้ข้อมูลย้อนกลับซึ่งกันและกันทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผล เพิ่มมากขึ้น ความผิดเพี้ยนของการสื่อสารทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นบ่อยๆ ประโยชน์ของการฟังทำให้การติดต่อสื่อสารมีความเข้าใจกันมากขึ้น การให้ข้อมูลย้อนกลับจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงด้วยกันทั้งผู้ ส่งสารและผู้รับสารลดความผิดเพี้ยนของการสื่อสาร
            การพูดเกลี้ยกล่อมเป็นทักษะส่วนตัวที่ใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้เป็นวิธีการ ที่จะทำให้ผู้อื่นทำตามที่ปรารถนา เมื่อไม่ต้องการใช้อำนาจหน้าที่แบบเป็นทางการเมื่อกลุ่ม 2 กลุ่มที่ขัดแย้งกันในองค์การ ท่านสามารถใช้ศิลปะในการเกลี้ยกล่อมเพื่อใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นได้นอก เหนือจากนั้นการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิผลนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของ ท่านในการเกลี้ยกล่อมคนอื่นให้ลดความต้องการของเขาลงเพื่อให้เขาเห็นคุณค่า ที่ท่านเสนอ
             ทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
       เพื่อให้การแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล ท่านต้องรู้จักตนเอง และกลุ่มบุคคลที่ขัดแย้งกัน เข้าใจสถานการณ์ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งและตระหนักในการหาทางเลือกที่ดี
1.สไตล์การแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบใดที่ท่านชอบ
 ได้ ชี้ให้เห็นแล้วว่า ความสำเร็จของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับการตระหนักในตนเอง สิ่งนี้เป็นความจริงโดยเฉพาะในเรื่องการบริหารความขัดแย้ง
       พวกเราส่วนมากมีการตอบสนองความขัดแย้งแตกต่างกันตามสถานการณ์แต่ละคนมีสไตล์ ที่ตนชอบในการบริหารความขัดแย้ง (Kilmann and Thomas 1977)แบบสอบถามที่ท่านทำตอนต้นนั้นออกแบบเพื่อวินิจฉัยสไตล์การจัดการความ ขัดแย้งพื้นฐานของท่าน ให้ย้อนกลับไปดูผลอีก
        ท่านอาจสามารถเปลี่ยนสไตล์ที่ชอบให้เหมาะสมกับสภาพของปัญหาความขัดแย้งที่ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สไตล์พื้นฐานของท่านจะบอกให้ทราบวิธีที่ท่านชอบมากที่สุดในการแสดงและเป็น วิธีที่ท่านใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นบ่อยๆ
2.ใช้ดุลยพินิจในการเลือกความขัดแย้งที่ท่านจะเข้าไปแก้ปัญหา
       ท่าน ไม่จำเป็นต้องสนใจที่จะบริหารความขัดแย้งทุกเรื่องบางเรื่องไม่มีความสำคัญ ที่ท่านจะต้องพยายามเข้าไปจัดการ บางเรื่องอาจไม่จำเป็นที่จะต้องบริหาร
        ความขัดแย้งทุกเรื่องไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องเสียเวลาอ้นมีค่าเพื่อพยายาม เข้าไปแก้ปัญหา วิธีการหลีกหนีอาจนำมาใช้ได้ บางครั้งวิธีการหลีกหนีก็เป็นสิ่งสนองตอบที่เหมาะสม ท่านอาจปรับปรุงการบริหารความขัดแย้งให้มีประสิทธิผลได้โดยปรกติท่านอาจใช้ วิธีการหลีกหนีก็ได้
       เลือกเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น ถนอมตนเองไว้บ้าง อย่าให้เปลืองตัวโดยไม่จำเป็นมากนัก เกือบไม่ต้องพิจารณาเลยว่าถ้าไม่ใช่ปัญหาของเรา เราก็ไม่ต้องแก้ไข (Greenhalgn,1986)
       เมื่อมีคู่ปรปักษ์ มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายปรารถนาที่จะต่อความยาวสาวความยืดให้ความขัดแย้ง ให้ความขัดแย้งดำเนินต่อไป ภาวะการใช้อารมณ์ก็มีมากขึ้น การญาติดีดูเป็นเรื่องสุดวิสัย ถึงแม้ท่านจะพยายามอย่างไรก็ไร้ผล ผู้บริหารอย่าไปตกหลุมพรางว่าผู้บริหารที่ดีต้องแก้ปัญหาทุกเรื่อง บางเรื่องก็ป่วยการเปล่าบางเรื่องอยู่นอกเหนืออิทธิพลของท่าน คนอื่นอาจแก้ปัญหาได้ดีกว่า การปล่อยทิ้งไว้อาจดีกว่า
3.ประเมินบุคคลที่มีความขัดแย้ง
      ถ้า ท่านเลือกที่จะบริหารความขัดแย้ง สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีเวลาที่จะรู้จักผู้ที่ขัดแย้ง ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ผลประโยชน์อะไรท่ีแต่ละคนเสนอมา แต่ละคนมีค่านิยม บุคลิกภาพ ความรู้สึกและพื้นฐานอะไร ถ้าท่านทราบสิ่งเหล่านี้ โอกาสที่จะบริหารความขัดแย้งสำเร็จก็มีมากขึ้น ถ้าท่านสามารถวิเคราะห์ได้ว่ากลุ่มที่ขัดแย้งกันนั้นมีทัศนคติอย่างไรกับ สถานการณ์ความขัดแย้ง โอกาสที่ท่านจะแก้ปัญหาความขัดแย้งสำเร็จย่อมมีมากขึ้น
4.ประเมินสาเหตุของความขัดแย้ง
      ความ ขัดแย้งมีสาเหตุของการเกิด ดังนั้นวิธีการที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ท่านต้องวินิจฉัยอย่างมากถึงสาเหตุ วินิจฉัยแหล่งที่มาของความขัดแย้ง งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งมีสาเหตุแตกต่างกัน สามารถแยกออกได้  3 สาเหตุคือ
        การสื่อสาร โครงสร้าง ปัจจัยส่วนบุคคล (Robbins,1974)  ความขัดแย้งที่เกิดจากการสื่อสารเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความยากในความ หมายของภาษา เกิดความเข้าใจผิด มีเสียงรบกวนในช่องทางการติดต่อสื่อสาร ผู้คนส่วนมากมีสมมติฐานว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะขาดการสื่อสาร แต่จริงแล้วโดยปรกติการสื่อสารมากทำให้เกิดความขัดแย้งสูง ข้อผิดพลาดของคนทั่วไปก็คือพยายามที่จะสื่อสารให้คนอื่นเขาเห็นด้วยกับความ คิดของตน  (Kursh,1971)
        นั่นก็คือเขามีสมมติฐานที่ว่าถ้าคนอื่นไม่ยอมรับจุดยืนของเขาจะทำให้เกิด ปัญหาการสื่อสาร สิ่งแรกที่เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลมีพื้นฐานมาจากสาเหตุของการสื่อสาร ที่ล้มเหลว ถ้าวิเคราะห์ให้ชัดเจนมากขึ้น ความขัดแย้งนั้นเกิดจากความคาดหวังในบทบาท เป้าหมายต่างๆที่คล้ายๆกันสำหรับสาเหตุของความขัดแย้งในตัวผู้บริหารแล้ว การส่ือสารที่ไม่ดีนั้นดูจะเป็นเรื่องที่เป็นปัญหามาก
         โดยธรรมชาติขององค์การแล้ว ความขัดแย้งมีทั้งแนวตั้งและแนวนอน(Robbins,1987) การบริหารที่แบ่งงานออกเป็นกลุ่มงาน แบ่งออกเป็นฝ่ายมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ตามลำดับขั้น มีกฏเกณฑ์และข้อบังคับเพื่อให้เกิดความสะดวก และเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานระหว่างฝ่ายต่างๆความขัดแย้งก็อาจจะเกิดขึ้น บ่อยก็คือ แต่ละคนมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน เป้าหมายของคนหนึ่งอาจจะขัดขวางเป้าหมายของคนอื่น การตัดสินใจในทางเลือกต่างๆ เกณฑ์การปฏิบัติงาน การจัดสรรทรัพยากร ความขัดแย้งเหล่านี้มิใช่เกิดจากปัญหาการสื่อสารที่ไม่ดีหรือเพราะการเป็น ศัตรูกัน เป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างขององค์การ สิ่งดีๆที่คนต้องการเช่น
          งบประมาณ เงินเดือน  2ขั้นการเพิ่มบุคลากร ห้องทำงานใหม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือก ทรัพยากรที่มีจำกัดต้องแบ่งปันฝ่ายต่างๆและการบังคับบัญชาตามลำดับขั้น การทำงานตามความถนัดความชำนาญเฉพาะอย่าง การประสานงานย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งตามลักษณะโครงสร้างทั้งสิ้น
           สาเหตุความขัดแย้งประการที่สามก็คือ ปัจจัยส่วนบุคคลความแตกต่างระหว่างบุคคล ลักษณะเฉพาะระบบค่านิยม คนที่แตกต่างกันยากที่จะทำงานร่วมกัน ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันก็เช่น ภูมิหลัง การศึกษา ประสบการณ์ การฝึกฝนอบรม ซึ่งเป็นสิ่งหล่อหลอมบุคลิกภาพเฉพาะ และก่อให้เกิดค่านิยม ซึ่งจะทำให้เกิดการรับรู้ในตัวคนอื่นเบี่ยงเบนไป ไม่ยอมรับค่านิยมของคนอื่น กลายเป็นคนแปลกหน้า ปัจจัยส่วนบุคคลเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง
5. กำหนดทางเลือก
     Thomas(1976) ได้วินิจฉัยแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งไว้ 5วิธีคือ การหลีกเลี่ยง การยอมตาม การใช้อำนาจ การประนีประนอม การแก้ปัญหาร่วมกัน  แต่ละวิธีมีจุดอ่อนจุดแข็ง ไม่มีวิธีการใดที่เหมาะกับทุกสถานการณ์ ต้องใช้ดุลยพินิจในการใช้แต่ละยุทธวิธีเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการความ ขัดแย้งของท่านทั้ง 5 วิธีเปรียบเสมือนกล่องเครื่องมือที่ท่านจะนำเอาไปใช้ ผู้บริหารที่มีทักษะจะทราบว่าวิธีการใดสามารถใช้ได้และมีประสิทธิผลที่ดี
         ได้กล่าวแต่ต้นแล้วว่า ความขัดแย้งทุกเรื่องไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการเดียว บางครั้งการหลีกเลี่ยงเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดการถอนตัวจากความขัดแย้ง หรือเมินเฉยกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อไรถึงจะเลือกใช้ยุทธวิธีการหลีกหนี เราจะใช้ยุทธวิธีการหลีกหนีเมื่อปัญหาความขัดแย้งนั้นไม่มีความสำคัญ เมื่อมีอารมณ์เข้ามาครอบงำสูงจำเป็นต้องใช้เวลาให้อารมณ์เย็นลงเสียก่อน
           เป้าหมายของการยอมตามเป็นลักษณะของการเน้นความสัมพันธ์ สนองตอบหรือยอมตามที่ท่านเกี่ยวข้องด้วย เช่น ยอมตามคนที่มีปัญหาเกี่ยวข้องด้วย ยุทธวิธีนี้ใช้บ่อยเมื่อมีปัญหาเกิดการโต้เถียงอภิปรายกัน และปัญหานั้นไม่มีความสำคัญสำหรับตัวท่านหรือเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับ ตัวท่านในโอกาสต่อไป  (ถ้าท่านคิดว่าเถียงต่อไปก็แพ้)  
           การใช้อำนาจบังคับท่านพยายามที่จะทำให้ตัวท่านเกิดความพึงพอใจตามความต้อง การของตนเอง ที่ใช้อำนาจกับคนอื่นหรือกลุ่มอื่นนอกองค์การ ผู้บริหารใช้อำนาจหน้าที่เป็นทางการแก้ปัญหาในการโต้เถียงกันบ่อยๆการใช้ อำนาจบังคับนี้มีผลดีเมื่อท่านต้องการให้มีการแก้ปัญหาที่จบสิ้นโดยรวดเร็ว ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาการปฏิบัติงานที่ล้าสมัย ปัญหาที่ต้องการความร่วมมือจากคนอื่นเข้าแก้ปัญหาแต่ไม่ต้องการให้มีการมี วิจารณ์
           การประนีประนอมเป็นยุทธวิธีที่ต้องการให้สมาชิกแต่ละกลุ่มยกเลิกค่านิยม บางอย่าง เป็นวิธีการบริหารและการเจรจากันของสหภาพแรงงาน การประนีประนอมเป็นยุทธวิธีที่ให้ประโยชน์สูงสุด ถ้าทั้งสองฝ่ายมีอำนาจเท่าเทียมกันเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว
          ในกรณีปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หรือมีข้อจำกัดของเวลาในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามอุดมการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายชนะ ทุกกลุ่มที่ขัดแย้งต้องการผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นรูปแบบการเปิดอภิปรายแบบจริงใจต่อกัน รับฟังซึ่งกันและกันทำความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา อย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย การแก้ปัญหาร่วมกันจะได้ผลดีเมื่อไร เมื่อมีเวลามากพอที่จะแก้ปัญหาเมื่อทั้งสองฝ่ายต้องการแนวทางแก้ปัญหาแบบให้ ทั้งสองฝ่ายชนะและเมื่อปัญหานั้นสำคัญมากเกินกว่าที่จะประนีประนอมได้
 6.เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ทางเลือกที่ท่านชอบ ท่านจะดำเนินการอย่างไร
เริ่ม ต้นด้วยการพิจารณาสไตล์ที่ท่านชอบในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(ดูแบบฝึกหัดที่ ท่านทำ)แบบฝึกปฏิบัตินี้ทำให้ท่านได้ตระหนักว่าสไตล์แบบไหนที่ท่านรู้สึก สะดวกสบายเช่น การหลีกหนี บางคนหลีกหนีความขัดแย้ง เขาอาจมีความเชื่อว่าไม่มีปัญหาใดที่ใหญ่เกิน ซึ่งไม่สามารถหลีหนีได้ ถ้าท่านเป็นคนเช่นนี้ท่านต้องตระหนักและป้องกันแนวโน้มแบบนี้
        สิ่งที่เป็นลำดับต่อมาก็คือ ท่านต้องมีเป้าหมาย ทางเลือกที่ดีที่สุดที่สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านเห็นว่า  “ดีที่สุด”เป้าหมายสามประการในการคัดเลือกวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งก็คือ ปัญหาความขัดแย้งนั้นสำคัญ เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระยะยาวและความรวดเร็วในการที่จะแก้ปัญหาความขัด แย้งและสิ่งอื่นที่ยึดถือถ้าปัญหานั้นเป็นปัญหาสำคัญขององค์การหรือความ สำเร็จของหน่วยงาน ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาก็เป็นสิ่งที่ชอบด้วยเหตุผล ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และมีความสำคัญ  ยุทธวิธีที่ดีที่สุด เรียงตามลำดับความชอบ
         ท้ายที่สุดท่านจำเป็นต้องพิจารณาสาเหตุของความขัดแย้งงานนั้นเกี่ยวกับอะไรมากที่สุด(Robbins,1974)ความ ขัดแย้งที่มีพื้นฐานจากการสื่อสารเกิดจากการได้ข้อมูลผิดพลาดและทำให้เกิด ความไม่เข้าใจกัน ต้องแก้ปัญหาร่วมกันในทางตรงข้ามถ้าสาเหตุความขัดแย้งเกิดจากปัจจัยส่วน บุคคล เช่นค่านิยมไม่ตรงกัน บุคลิกภาพ  เพื่อไม่เกิดความสะเทือนใจ ควรใช้วิิธีการหลีกหนีเพราะความขัดแย้งลักษณะนี็้อยู่ในระดับลึก
         เมื่อผู้บริหารต้องแก้ปัญหาในระดับลึกในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มักจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใช้อำนาจบังค้บ ไม่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งหมดไปแต่ก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับปัญหา การแก้ปัญหาลักษณะที่ 3 ความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้างขององค์การดูเหมือนจะเป็นการง่ายที่จะควบคุม สามารถเลือกใช้ยุทธวิธีต่างๆได้มากมาย
         กระบวนการแก้ป้ญหาความขัดแย้งควรเป็นลักษณะผสานสิ่งต่างๆในเรื่องสไตล์ส่วน ตัวของท่าน เป้าหมายต่างๆ สาเหตุของความขัดแย้งควรจะนำมาวินิจฉัยเพื่อเลือกยุทธวิธีในการแก้ปัญหาความ ขัดแย้งให้มีประสิทธิผลสอดคล้องกับสถานการณ์ความขัดแย้ง