วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม

คุณลักษณะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับของสังคม
เมื่อ พลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการ ป้องกัน  ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ 
นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
2.เป็นผู้มีเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทุกคนย่อมมีอิสระเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสาน
ความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน
3.ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ เมื่อ มีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร  ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฎิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น
4.เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย  และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมผู้ ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละ ในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย  เป็นการส่งผลต่อความมั่นคง และความก้าวหน้าขององค์กร  ซึ่งสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม  เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่างที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม  เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง   หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
5.เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น 
ควร รูจักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็น  การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียหาย
6.มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม ชุมชน ประเทศชาติ  
ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ  จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆให้สมาชิกแต่ละคนนำไป
ปฎิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มที่
7.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง  การปกครอง 
ในสังคมประชาธิประไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง  เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
8.มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศษฐกิจ  สังคม  การเมืองการปกครอง 
ช่วย สอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง  ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู  รวมถึงสงเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆด้วยสันติวิธี 
9. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และปฎิบัติตนตามหลักธรรม ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสม  ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆก็ตาม
การมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย  ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้  ดังนี้
1. การใช้สิทธิในกรเลือกตั้งระดับต่างๆ 
 เมื่อ อายุครบ  18   ปีบริบูรณ์  ทุคนต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา   และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่น  การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร   การเลือกตั้งสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่น  เป็นต้น  เพื่อเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่บริหารประเทศหรือท้องถิ่นทั่วไป
2. การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 
ใน การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกคนล้วนมีส่วนร่วมมือกันสอดส่องดูแล การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในองค์กร ต่างๆ เพื่อไม่ให้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
3. การเป็นแกนนำปลุกจิตสำนึกให้แก่ผู้อื่นในการร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
ได้แก่การใช้สิทธิเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจของรัฐ  โดยการเป็นแกนนำนั้น สามารถปฎิบัติได้หลายอย่าง เช่น  ประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์  การเข้าไปชี้แจงเป็นรายบุคคลการจัดให้มีการประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อ ประเด็นที่มีผลกระทบต่อสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น