วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

               ศักดิ์ศรี    คือ การยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่า นั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้น หรือต้องการกระทำนั้นๆ อาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ  การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้  สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน

          มนุษย์  คือ  บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ
องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน     ดังนั้นคำว่าสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในรัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550
มาตรา  4    “  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิ  และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ”
มาตรา 26    “  การใช้อำนาจ  โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี  ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  “
มาตรา  28   “  บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่า ที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ
เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน  “


สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของชาติสมาชิก
(ภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติ)
          สิทธิทางการเมืองของพลเมือง หลังจากที่ประชาชนได้ยินยอมมอบสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันมีอยู่ ดั้งเดิมที่ติดมากับตัวของมนุษย์โดยธรรมชาติให้แก่รัฐแล้วนั้น ประชาชนจึงกลายเป็นเสมือนว่าการใช้สิทธิเสรีภาพ อิสรภาพทั้งหลายจะผูกติดอยู่กับการใช้อำนาจโดยรัฐ การอ้างสิทธิของการเป็นพลเมืองจึงเกิดขึ้นการใช้สิทธิในฐานะเป็นพลเมืองของ ประชาชน บางครั้งผู้ปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่รัฐเองหรือผู้ใช้อำนาจภายใต้กฎเองก็ลืม ไปว่าประชาชนนั้นเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐก่อให้เกิดการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และอิสรภาพของประชาชนการต่อต้านการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจึงปรากฎเห็นอยู่ เสมอๆ  การที่ประชาชนไม่ยอมรับการใช้อำนาจรัฐ จึงถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทุกๆ ประเทศให้เป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการร้องหาความเป็นธรรมได้เป็นการ แสดงความคิดเห็นต่างๆ ในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายแห่งรัฐเรื่องการตัดสินใจอันมีผลกระทบต่อการเป็น อยู่ของประชาชน

ดังนั้นเพื่อสนองเจตนารมณ์ดั้งเดิมของประชาชน หรือนัยหนึ่งเรียกว่ามนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่รัฐมาจัดการใช้ สิทธิเสรีภาพของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์สูงสุดมากกว่าการใช้อำนาจ กันเองโดยธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องมีองค์การของประชาชนโดยประชาชนขึ้นมา ตรวจสอบการใช้อำนาจของทุกองค์กรว่าสามารถสนองเจตนารมณ์ของความเป็นมนุษย์และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้แค่ไหนเพียงใด อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป
องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกๆ รัฐจะต้องให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้มีขึ้นในทุกรัฐภาคีในสนธิสัญญาแห่งสห ประชาชาติ ในอันที่จะพิทักษ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพตลอดจนอิสรภาพ ในการใช้สิทธิของตนโดยธรรมชาตินั้นด้วย องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จึงดำเนินการภายใต้เจตนารมณ์ เพื่อพิทักษ์ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั่นเอง

สรุปการจัดตั้งองค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ มีกฎหมายรองรับดังต่อไปนี้
    • กฎบัตรสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช  2550  มาตรา  82
    • เจตนารมณ์  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
    • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา  64 และ มาตรา 87(3)
    • ไม่ต้องจดทะเบียนเพราะ ข้อ 1, 2 และ 3 รับรองแล้ว
    • อำนาจการตรวจสอบ  ใช้สิทธิและเสรีภาพที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  เช่น มาตรา 56 , 57  ,59 , 62  ฯลฯ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น