วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ค่านิยมและการสัมผัสรับรู้

                  ค่านิยมสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน 

ค่านิยมที่สำคัญของสังคมไทย ๑. การเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ๒. การนับถือและให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา ๓. การเคารพผู้มีอาวุโส ๔. ความซื่อสัตย์สุจริต
ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย ค่านิยมพื้นฐาน ๕ ประการ โดนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีดังนี้ ๑. การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบ ๒. การประหยัด และออม ๓. การมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย ๔. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา ๕. ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์  

  • ค่านิยมของสังคมไทยในอดีต


ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในอดีต วิถีชีวิตของสังคมไทยในอดีต ส่วนใหญ่ยึดมั่นสืบทอดตามบรรพบุรุษ พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสุขสบาย ไม่อยากให้ใครได้รับความเดือดร้อน วิถีชีวิตเป็นแบบเรียบง่ายไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจะมีระบบข้ากับเจ้า บ่าวกับนายก็ตาม ค่านิยมของสังคมไทยในอดีตมีลักษณะดังนี้
๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา คนไทยในอดีตส่วนใหญ่ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุธศาสนา เพราะเมื่อทำแล้วเกิดความสบายใจ มีความสุขจากการทำบุญ ทำให้คนมีจิตดี มีความอ่อนโยน มีเมตตา กรุณา การประพฤติตามหลักธรรมคำสอนทำให้คนเป็นคนดี อีกทั้งยังเป็นการสืบทดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวอีกด้วย
๒. เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นแนวทางให้สังคมไทยในอดีตเกิดความกลัว ละอายต่อการทำบาป เพราะเมื่อตายแล้วต้องตกนรก ทำให้เกิดการทำบุญหรือทำความดี เพื่อหนทางสู่สวรรค์นั่นเอง
๓. เชื่อในเรื่องของวิญญาณ ภูตผีปีศาจ มีความเชื่อในเรื่องอำนาจลึกลับที่มีอยู่เหนือมนุษย์ สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งดีหรือสิ่งร้าย ด้วยเหตุนี้จึงมีพิธีกรรมเกิดขึ้นมากมายซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เช่น เชื่อในเรื่องเจ้าที่เจ้าทาง ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น
๔. ยกย่องระบบศักดินา เป็นความเชื่อที่ว่าเป็นผู้มีบารมี ความร่ำรวย บุคคลในตระกูลสูศักดิ์ คือ ผู้ที่เทพเจ้าบันดาลให้มาเกิดจึงได้รับการยกย่องและเกรงกลัว
๕. เคารพผู้อาวุโส อาจหมายถึงผู้ที่สูงด้วยอายุ ด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ มีความเชื่อว่าผู้อาวุโสมีประสบการณ์ มีความสามารถ เช่นสำนวนที่ว่า “ ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน ” การเคารพผู้อาวุโสจะทำให้มีความสุขและเจริญก้าวหน้า


๖. มีชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ เพราะการประกอบอาชีพจะอาศัยแม่น้ำ ลำคลอง หรือจากน้ำฝน มีการหาของป่า ถ้าปีใดเกิดการแห้งแล้งจะเป็นปัญหาทางการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะยังไม่มีการคิดค้นเทคโนโลยีสมัยใหม่
๗. เชื่อถือเรื่องโชคลาง เมื่อชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ จึงเชื่อว่าสิ่งลึกลับจะช่วยให้เกิดสิ่งดีหรือสิ่งร้ายได้ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมาก เช่น เสียงทักของจิ้งจก ตุ๊กแก ขณะออกจากบ้าน เมื่อได้ยินเสียงก็ให้เลิกล้มความตั้งใจเสีย หรือเลื่อนเวลาเดินทางออกไป
๘. ต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม แสดงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือ ทำให้ชีวิตไม่เหงา รู้สึกตนเองยังมีคุณค่าในสังคม
๙. ยึดมั่นในจารีตประเพณี คนส่วนใหญ่ต่างยอมรับกฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม และต้องรักษาแบบแผนไว้สืบต่อไป การไม่ปฏิบัติตามย่อมจะถูกตำหนิและเป็นที่รังเกียจของสมาชิกในสังคม
๑o. นิยมการมีอำนาจและบารมี เนื่องจากสภาพในสังคมในอดีตเป็นระบบศักดินา จึงทำให้กลุ่มผู้มีอำนาจพยายามสร้างซึ่งเป็นการส่งผลให้เกิดบารมีให้เกิด ขึ้นกับตนเอง นำไปสู่การเป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง มีเมตตาต่อผู้ยากไร้ทำให้เกิดระบบอุปถัมภ์
๑๑. ชอบพึ่งพาอาศัยกันและกัน สังคมไทยในอดีตมีความเข้าใจไว้วางใจกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือแม้แต่งานที่ต้อง ใช้เวลาจำกัด เช่น การทำนา ทำไร่ หรือจัดงานบุญที่บ้านหรือวัด ก็นิยมช่วยเหลือกันเรียกประเพณีนิยมนี้ว่า “ การลงแขก ” เป็นต้น
๑๒. พึงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นการใช้ชีวิตแบบสันโดษ เพื่อสองคล้องกับหลักธรรม เป็นกลุ่มอนุรักนิยมมากกว่าการแสวงหาความก้าวหน้า ต้องการความสบายใจ การทำงานจะไม่เป็นระบบ ไม่มีการวางแผนชีวิตใน ระยะยาว  
  • ค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน


ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ มีทุนให้ครู-อาจารย์ ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลไป ตามสภาพของสังคมด้วยดังนี้
๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
๒. เคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างกับสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจพระองค์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคนไทย เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
๓. เชื่อในเรื่องเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต ในสภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ปัจจุบันสังคมไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้งครองเจ้าของความคิด ไม่ให้ใครลอกเลียนแบบได้ เรียกว่า “ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ” เป็นต้น
๔. ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ปัจจุบันสังคมไทยต้องแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความ สามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
๕. นิยมความร่ำรวยและมีเกียรติ สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญเรืองความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคน ได้


๖. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้
๗. ชอบแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อนไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องทำการแย่งชิงแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
๘. นิยมการบริโภค นิยมบริโภคของแพง เลียบแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่การมีหนี้สินมากขึ้น
๙. ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการพักผ่อนให้ชัดเจน
๑o. ชอบอิสระไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจของใคร ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
๑๑. ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชายเท่าเทียมกัน หญิงไทยในปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานไดเช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช่ช้างเท้าหลังอีกต่อไป
๑๒. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ซึ่งเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
๑๓. นิยมภาษาต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยากต่อการศึกษาและนำไปใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น